วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประเทศไทย

ประวัติศาสตร์จาก หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งค้นพบในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี ที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี หรือที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง ปรากฎร่องรอยอารยธรรมอันเก่าแก่ของโลก ซึ่งมีอายุเกือบ 6 พันปี ชนชาติที่ครอบครองดินแดนแห่งนี้ในยุคโบราณนั้น เป็นชนชาวละว้าและชาวป่าเขาในตระกูลมอญ และขอมโบราณ ดัง หลักฐานที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ อาณาจักรลพบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีอาณาจักร 3 แห่ง ที่ครอบครองดินแดนในแถบนี้ ได้แก่
o อาณาจักรขอม ครอบครองดินแดนลุ่มน้ำโขงและน้ำมูลทางตะวันออกลงไป มีเมืองหลวงอยู่ที่นครวัด ในกัมพูชา (ปัจจุบัน) o อาณาจักรทวารวดี มีชนชาติมอญครอบครองพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปถึงดินแดน ตอนเหนือ ของคาบสมุทรมลายา มีเมืองศูนย์กลางตั้งอยู่ที่นครปฐม o อาณาจักรศรีวิชัย อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายา มีชาวมลายูครอบครองอยู่ ในระหว่างนั้นชนชาติไทยโบราณได้ค่อย ๆ อพยพโยกย้ายลงมาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และตั้งอาณาจักร เป็นหลักแหล่งขึ้น ตามที่ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในบริเวณมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในเขตสิบสองปันนา เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า
เนื่องจากอาณาจักรน่านเจ้าถูกรุกรานจากชนชาติจีนซึ่งเข้มแข็งกว่า ประกอบกับคนไทย มีอาชีพกสิกรรม จึงเดินทาง ถอยลงมาทางใต้ตามแนวแม่น้ำโขง เพื่อแสวงหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม และตั้งอาณาจักรเป็นหลักแหล่งขึ้นใหม่ หลายแห่งในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในความครอบครองของชนชาติขอม
เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ได้ปรากฎอาณาจักรลานนาไทย หรือล้านนาขึ้นบนฝั่งแม่น้ำโขงในบริเวณที่ตั้ง ของอำเภอเชียงแสน จ.เชียงรายในปัจจุบัน และอาณาจักรลานช้าง หรือล้านช้าง อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงพระบางของ ลาวในปัจจุบัน
ต่อมาชาวไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้ามาอยู่ในดินแดนของขอม ได้รวมตัวกันขึ้นและสถาปนา อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งแปลว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" เป็นอิสระพ้นจากอำนาจของขอม มีพระร่วงเจ้าหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นกษัตริย์พระองค์ แรก และมีกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ ที่สำคัญพระองค์หนึ่ง คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นช่วงที่บ้านเมืองสงบสุข ปราศจากศึกสงคราม
ในระหว่างนั้น (ราวศตวรรษที่ 14) ได้มีชนชาติไทยอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้ตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ เรียกว่า กรุงศรีอยุธยา ภายใต้การนำของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เมื่ออาณาจักร เข้มแข็งขึ้นจึงได้รวบรวมอาณาจักรอื่น ๆ เข้าไว้ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้งหมด ซึ่งกรุงสุโขทัยก็ได้ตกเป็น ประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1894 และมีการขยายอำนาจออกไปทั่วบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน แหลมมลายู จนถึงเกาะปีนังและสิงคโปร์ มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติหลายประเทศ จึงเป็นโอกาสที่วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้เผย แพร่เข้ามา
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2112-2124 กรุงศรีอยุธยาได้สูญเสียเอกราชครั้งที่ 1 ให้แก่พม่า ซึ่งต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกอบกู้แผ่นดินคืนได้ และประกาศอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. 2127 จากนั้นได้ทรงขยายอาณาเขตให้กว้างไกลออกไป กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ แผ่นดินร่มเย็นเป็นสุข มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบเนื่องกันมารวม 33 พระองค์
ในปี พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาได้ถูกรุกรานและตกอยู่ภายใต้การ ปกครองของพม่าอีกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากผู้ปกครองขาดความสนใจใน หน้าที่บ้านเมือง เกิดความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก บ้านเมืองระส่ำ ระสาย ขาดเสถียรภาพ กอปรกับการว่างเว้นจากศึกสงครามมานาน พม่า จึงได้ใช้ยุทธวิธีสงครามแบบกองโจรทำให้ตีกรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นเจ้าพระยาตาก ได้ รวบรวมไพล่พลประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เมื่อรวบรวมชาวไทยที่รักชาติได้ เป็นปึกแผ่นแล้ว จึงยกพลเข้าตีกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ในปีเดียวกัน แต่เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้รับความ เสียหายเกินกว่าที่จะฟื้นฟูได้ในระยะเวลานั้น และพม่ารู้เส้นทางดีอยู่แล้ว จึงเกรงว่าจะทำให้รักษาบ้านเมืองไว้ได้ยาก จึงทรงย้ายเมืองหลวงมาที่ กรุงธนบุรี และปกครองบ้านเมืองมาจนกระทั่งถึง พ.ศ.2325 รวมระยะเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี 15 ปี
จากการที่ต้องทำสงครามกับพม่าและต้องรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้งต้องทนุบำรุงบ้านเมือง ตลอดเวลา เศรษฐกิจของกรุงธนบุรีจึงอยู่ในสภาพที่ตกต่ำมาก พระยาจักรีนายทหารผู้กล้าแห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งได้ ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้เอกราชของบ้านเมืองเมื่อคราวเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงสร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2325 ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีกว่าด้วยประการทั้งปวง และพระราชทานนามว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์"
ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และ 19 (ปี พ.ศ.2394-2453 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4-5) ประเทศในแถบเอเชียตอนใต้ ตกเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ดำรงความเป็นเอกราชมาได้ตลอด เพราะพระปรีชาสามารถในการดำเนินวิเทโศบายด้านการเมืองขององค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยทรงเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศมหาอำนาจ และดำเนินการด้านการค้า และสัญญาต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งต้องยอมสูญเสียดินแดน หรือผล ประโยชน์ของประเทศในบางส่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติ
ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องมา จนถึงรัชกาลปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือ พระรามาธิบดีที่ 9 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
จากประวัติศาสตร์ของไทยจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องราวของการสร้างชาติ การต่อสู้และการกอบกู้อิสรภาพ ตลอดจนการ ติดต่อมีสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพื่อเหตุผลทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ ซึ่งระยะเวลาอันยาวนานนี้ ชาติไทยได้มีโอกาสรับวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ไว้มากมาย เช่น วัฒนธรรมจีน ลาว กัมพูชา พม่า อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และวัฒนธรรมของชาติในทวีปยุโรป คนไทยจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสหยิบยืมวัฒนธรรมมากกว่าจะได้มี โอกาสหยุดยั้งและคิดสร้างวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนขึ้นเอง
อย่างไรก็ตาม คนไทยก็สามารถนำวัฒนธรรมของชาติอื่นมาประยุกต์และปรับใช้ให้เข้ากับคุณลักษณะและคุณสมบัติ ของคนไทย ตลอดจนพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบไทย หรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทยเองได้เป็นอย่างดี
ประเทศไทย หรือประเทศสยามคนไทยนั้นไม่เคยเรียกตนเองว่า "สยาม" เลย นอกจากจะเรียกว่า "ไทย" แต่ชาวต่างชาตินิยมเรียกประเทศไทยว่า สยาม (Siam) และเรียกคนไทยว่า "ไซมีส" (Siamese) สำหรับลำดับการเรียกชื่อประเทศในสังคมไทยนั้น พอจะสรุปได้ ดังต่อไปนี้ คือ
1. เดิมทีคนไทยเรียกชื่อประเทศโดยใช้ชื่อเมืองหลวงเป็นชื่อประเทศ เช่น กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ 2. ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ ได้เรียกชื่อประเทศว่า กรุงศรีอยุธยา3. ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแยกชื่อเมืองหลวงออกจากชื่อประเทศ ตามแบบตะวันตก คือ เรียกประเทศว่า "สยาม" โดยได้ทรงลงพระปรมาภิไธยว่า Rex Siamensis4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรปี พ.ศ. 2475 ใช้ชื่อว่ารัฐรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม และมาตรา 1 ระบุว่า "ประเทศสยามเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้"5. พ.ศ. 2480-2481 ในสัญญาทางพระราชไมตรีการพาณิชย์ การเดินเรือกับต่างประเทศใช้คำว่า "ประเทศสยาม" "ราชอาณาจักรสยาม" "รัฐบาลสยาม" แต่เมื่อกล่าวถึงภาษาใช้คำว่า "ภาษาไทย" และมีบางแห่งใช้ไทยและสยามปน ๆ กันไป 6. พ.ศ. 2482 ในสมัยจอมพลหลวงพิบูลสงคราม มีการประกาศใช้ประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า "ไทย" 7. รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามของประเทศปีพุทธศักราช 2482 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า ให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และบทรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่ใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน จึงเท่ากับเป็นการฆ่าคำว่า "สยาม" ให้ตายไปโดยสิ้นเชิง นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจะต้องเรียกคนไทยว่า "ไทย" (Thai) และเรียกชื่อประเทศว่า ประเทศไทย (Thailand) ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น
8. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ ประกาศใช้ชื่อประเทศไทยใน ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า "Siam" ชื่อประเทศไทยและภาษาไทยว่า "ประเทศไทย" ส่วนสัญชาติ ผู้ถือหนังสือเดินทางเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "Siamois" ในขณะเดียวกันนั้น ประเทศอังกฤษได้ขอตั้งเงื่อนไขขอเรียกชื่อประเทศไทยว่า "ประเทศสยาม" ซึ่งรัฐบาลไทยก็มิได้ขัดข้องประการใด จึงดูเหมือนว่าชาวต่างประเทศจะเรียก สยาม ก็ได้ ไทย ก็ได้9. เมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี คงเรียกประเทศว่า "ประเทศไทย" ส่วนการเรียกในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสให้เรียก "Siam" 9. เมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี คงเรียกประเทศว่า "ประเทศไทย" ส่วนการเรียกในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสให้เรียก "Siam" 10. เมษายน พ.ศ. 2491 เมื่อจอมพลหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายควง อภัยวงศ์ รัฐบาลกลับเปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า "Thailand" และฝรั่งเศสว่า "Thailande" ซึ่งคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ 11. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ได้เขียนลงไว้ว่า "ประเทศไทย" 12. พ.ศ. 2511 สภาร่างรัฐธรรมนูญมีการอภิปรายเปลี่ยนชื่อจาก "ไทย" เป็น "สยาม" แต่สมาชิกส่วนมากไม่ยอมรับ 13. พ.ศ. 2517 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้อภิปรายในเรื่องเดียวกันนี้ แต่สมาชิกส่วนมากไม่ยอมรับเช่นกัน
ชนชาติไทยชนชาติไทยมาจากไหนเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยเป็นที่สนใจสำหรับนักประวัติศาสตร์และ นักมานุษยวิทยาเป็นอย่างยิ่ง ได้มีการใช้หลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารจดหมายเหตุของจีนและหลักฐานทาง โบราณคดีซึ่งเพิ่งศึกษากันในราวปี พ.ศ. 2504 มาเป็นข้อมูลสำคัญ จนสรุปเป็นทฤษฎีว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเก่า และทฤษฎีใหม่
1. ทฤษฎีเก่านักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชนชาติไทยนั้น แต่เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของจีน แถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันนี้ Dr.William Dodd หมอสอนศาสนาได้เสนอข้อคิดเห็นดังกล่าวไว้ใน หนังสือชื่อ "The Thai Face Elder Brother of the Chinese" ซึ่งก็ตรงกับนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Wolfram Eberhard ซึ่งได้อาศัยหลัก Cultural Anthropology ที่ว่าชนชาติไทยมีแหล่งกำเนินอยู่ทางตะวันออก ของมณฑล Shang (สาง หรือ เสียง) อยู่ในบริเวณมณฑลกวางตุ้ง และก็มีนักประวัติศาสตร์บางคน เช่น ขุนวิจิตรวาท การ ว่าชนชาติไทยนั้นแต่เดิมมีหลักแหล่งอยู่แถบบริเวณภูเขาอัลไต (Altai) โดยมีบางคนสันนิษฐานว่าเพราะมีคำลงท้าย ว่า Tai ซึ่งที่จริงนั้นคำว่า Altai เป็นภาษามองโกล แปลว่า "ทอง" ภูเขาอัลไตแปลว่า "ภูเขาทอง" มิใช่คำผสมระหว่าง "อัล" และ "ไต" อย่างที่เขาใจกัน ต่อมาเมื่อ 1028 ปีก่อนคริสตศักราช หรือ 485 ปีก่อนพุทธศักราช ราชวงศ์โจวซึ่งเป็น จีนแท้ได้โจมตีราชวงศ์สางสำเร็จ ชนชาติไทยจึงได้อพยพลงมาตามลำน้ำแยงซีไปยังมณฑลเสฉวนและยูนนาน โดยมีเมือง สำคัญที่จารึกไว้ในจดหมายเหตุของจีน คือ เมืองเฉินตู และคุนมิง ในศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยจึงกระจัดกระจายไปในที่ ต่าง ๆ แถบแคว้นยูนนานของประเทศจีนปัจจุบัน
สำหรับแนวคิดเรื่องการถอยร่นลงมาจากเสฉวนจนถึงยูนนานนั้น ได้เป็นที่ยอมรับของ ดร.ขจร สุขพานิช นักประวัติ ศาสตร์ไทยซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหลายปี ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ "ถิ่นกำเนิดและแนวการอพยพ ของเผ่าไทย" คล้ายกับความคิดเห็นของ Wolfram Eberhard และยังได้เพิ่มเติมว่าก่อนอพยพเข้ามาที่อาณาจักรน่าน เจ้านั้น ชนชาติไทยเคยตั้งอาณาจักรที่มณฑลกวางตุ้งมาก่อนแล้ว
จากศตวรรษที่ 13-15 ชนชาติไทยสามารถรวมตัวกันเป็นอาณาจักรขึ้นมาได้ เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า แปลว่า "เจ้า ทิศใต้" ซึ่งก็ได้สูญสิ้นชื่อไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 1796 เพราะจักรพรรดิจีนองค์แรกในราชวงศ์หยวน คือ พระเจ้ากุบไลข่าน ผู้นำชาติมองโกลได้ยกทัพมาตีน่านเจ้าแตกไป ชนชาติไทยจึงต้องอพยพลงมาในแหลมอินโดจีนในดินแดนที่ต่อมาได้ชื่อว่า อาณาจักรเชียงแสน หรือล้านนาไทย ต้องต่อสู้กับพวกชนชาติที่อยู่เดิม คือ พวกละว้า และพวกขอมดำ ขณะเดียวกันชนชาติ ไทยบางพวกก็อพยพลงมาอยู่ที่แคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ ซึ่งต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัย และขณะนั้นอยู่ภายใต้การ ปกครองของอาณาจักรเขมรลพบุรี เมื่อพวกไทยรวมตัวกันและมีพลังมากขึ้นก็รวมตัวกันตั้งเป็นแคว้นอิสระ มีเมืองสุโขทัย เป็นราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 1781 George Caedes ชาวฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนทฤษฎีเก่านี้ สรุปว่าชนชาติไทยนั้นอพยพจากเหนือลงใต้ โดยอาศัย แม่น้ำเป็นหลัก เป็นการอพยพอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าถูกมองโกลรุกราน คนไทยจำนวนมากได้อาศัย ลำน้ำ 2 สาย คือ ลำน้ำโขง แล้วมาตั้งหลักแหล่งที่อาณาจักรล้านช้าง (เวียงจันทน์และหลวงพระบาง) บ้าง ที่ล้านนา (เชียงใหม่ เชียงแสน) บ้าง และที่สุโขทัย ส่วนที่อพยพไปตามลำน้ำสาละวินนั้นได้ไปตั้งหลักแหล่งถึงแคว้นอัสสัมของ อินเดียและรัฐฉานของพม่าก็มี
2. ทฤษฎีใหม่นักโบราณคดีเสนอข้อสรุปว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้นก็คือ บริเวณภาคอีสานของไทย และแถบจังหวัด กาญจนบุรีของไทยปัจจุบัน มิได้อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนอย่างทฤษฎีเก่าอ้างไว้ แต่ถ้าหากจะมีการอพยพจริงก็ คงจะเป็นการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ เช่น อพยพขึ้นไปอยู่แถบแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้น ยูนนาน เพราะได้มีการพบ หลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นหาซากโบราณที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยการใช้ C14 ทดสอบ ทำให้ทราบอายุของโครงกระดูกที่กาญจนบุรี ว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 5-6 พันปี
นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ทำการศึกษาความหนาแน่นของ กลุ่มเลือด ได้พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนภาคใต้ในชวา จึงเสนอความเห็นสนับสนุนทฤษฏีว่า ชนชาติไทยอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ คือ อพยพจากเกาะชวาขึ้นมาอยู่ที่แผ่นดินใหญ่
เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้านั้นก็มีนักทฤษฎีใหม่ชื่อ Frederick Mote เขียนไว้ใน "ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์" ว่าชนกลุ่มใหญ่ในอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ไทย แต่ไทยนั้นมีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อมาถูกขอมและ เขมรรุกรานจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือ แต่แบ่งแยกออกเป็นหลายพวก เข้าไปในเวียดนามที่เกาะไหหลำและที่แคว้นยูนนาน
นอกจากนั้นแล้วนักประวัติศาสตร์จีน 2 คน คือ ตูยูตินและเชนลูฟาน (Tu Yu-tin และ Chen Lu-fan) เขียนบท ความเรื่อง "ชัยชนะของกุบไลข่านเหนือเมืองตาลีโกว (ตาลีฟู)" ได้ทำให้คนไทยจำนวนมากอพยพลงมาทางใต้หรือไม่ โดยศึกษาเอกสารของจีนในราชวงศ์หยวนและเหม็ง พบว่า เมื่อกุบไลข่านยกมาตีน่านเจ้านั้นได้ตกลงกันอย่างสันติวิธี มิได้มี การโจมตีอย่างรุนแรงจนทำให้ไทยต้องอพยพมาครั้งใหญ่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1924 น่านเจ้าจึงสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์เหม็ง ยึดอำนาจจากมองโกล ได้รวมน่านเจ้าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตอนนี้เองจึงได้มีการอพยพ ทั้งนี้ได้เสนอว่าคนไทยที่อยู่ น่านเจ้านั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยใน 6 กลุ่ม ถิ่นกำเนิดของชาติไทยแต่เริ่มแรกจึงอยู่ที่ภาคเหนือของไทยปัจจุบันนี้ มิได้ อพยพมาจากจีนตอนใต้ และไทยในน่านเจ้าไม่เคยอพยพลงมาที่ประเทศไทยปัจจุบัน ดังนั้น ไทยในน่านเจ้าและ ไทย ปัจจุบันนี้จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน
สรุปแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้น สรุปได้ 2 ทฤษฎี คือ
ทฤษฎีเก่า ที่สรุปว่าชนชาติไทยมีภูมิลำเนาเดิมทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน แล้วอพยพลง มาจนถึงแคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ หรือประเทศไทยปัจจุบัน คือ อพบยพจากเหนือลงใต้ ส่วนทฤษฎีใหม่ คือ ชนชาติ ไทยมิได้อพยพถอยร่นมาจากที่ใด แต่ถ้าจะอพยพก็จากใต้ขึ้นเหนือ ทั้งทฤษฎีเก่าและใหม่นั้นยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ อยู่ เสมอ สำหรับทฤษฎีเก่ามักจะถูกตั้งคำถามว่า จริงหรือที่ชนชาติไทยจะทิ้งถิ่นฐานอันอุดมสมบูรณ์ แล้วก็ออกเดินทางผ่าน ทะเลทรายอันแห้งแล้งจนลงไปถึงสามประเทศ (สยามประเทศ) เพราะหลักการอพยพนั้นมนุษยชาติมักจะย้ายที่อยู่จาก แหล่งอัตคัดไปสู่ดินแดนใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเสมอ และมีบางคนที่คัดค้านว่าชนชาติไทยนั้นเป็นพวกที่ไม่ชอบเดินทาง ไกล ๆ แต่ชอบอยู่ติดกับที่ และนิยมการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก
สำหรับทฤษฎีใหม่นั้นถูกโจมตีว่าหละหลวมจนเกินไป เพราะโครงกระดูกที่พบอาจมิใช่โครงกระดูกของคนไทยก็เป็น ไปได้ ส่วนกลุ่มเลือดของคนที่ตรวจนั้นก็อาจจะมิใช่คนไทยแท้ เพราะมีการผสมกันมานานหลายเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับทฤษฎีเก่ากันอยู่ เพราะว่ามีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแน่ชัดกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น