วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หลักการทํางานของคอมพิวเตอร์

ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์
การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายประเภทด้วยกันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้ - Keyboard - Mouse - Disk Drive - Hard Drive - CD-Rom - Magnetic Tape - Card Reader - Scanner2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) ทํ าหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ - หน่วยควบคุม ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง - หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจากหน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจํ า (Memory) ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น หน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่งหรือข้อมูล แบ่งออกเป็น - ROM หน่วยความจําแบบถาวร - RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว - หน่วยความจําสํารอง เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลักสามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้ - Monitor จอภาพ - Printer เครื่องพิมพ. - Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ

วันพ่อแห่งชาติ

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันพ่อแห่งชาติ)
ที่มา : หนังสือวันสำคัญ โครงการปีรณรงค์วัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจัดกิจกรรมโดย : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการรวบรวมโดย : สถาบันเด็ก มูลนิธิเด็ก
ความหมาย
วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้ทรงกอปด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานับประการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกชาติ ศาสนา ที่อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารและประเทศชาติ มีความผาสุข และเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ตามที่ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนชาวสยาม”
ความเป็นมา
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาคือพระราชพิธีคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริจัดมีขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ว่า
“การทำบุญวันเกิดทุก ๆ ปีในเมื่อบรรจบรอบตามทางสุริยคติกาล เช่นทำกันอยู่ทุกวันนี้เกิดขึ้น โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นต้นเดิมมาแต่ยังทรงผนวชใช่ว่าจะตามอย่างจีนหรือฝรั่ง ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าการซึ่งมีอายุมาถึงบรรจบครบรอบปีไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันอุดมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ควรยินดี เมื่อผู้มารู้สึกยินดีเช่นนั้นก็ควรจะบำเพ็ญกุศลซึ่งเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่น สมกับที่มีน้ำใจยินดี และควรที่จะทำใจให้เป็นที่ตั้งแห่งความไม่ประมาท ด้วยไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า จะอยู่ไปบรรจบรอบปีเช่นนี้อีกหรือไม่ ควรที่จะบำเพ็ญการกุศลและประพฤติหันหาสุจริตธรรม วันเกิดปีหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจครั้งหนึ่ง ให้รู้สึกว่าอายุล่วงไปใกล้ต่อมรณะอีกก้าวอีกขั้นหนึ่ง เมื่อรู้สึกมีเครื่องเตือนเช่นนี้ ก็จะได้บรรเทาความเมาในชีวิต ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นตัวอกุศลธรรมนั้นเสีย...”
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษาตั้งแต่ยังทรงผนวชอยู่นั้น มีแต่สวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วก็ยังทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเพียงเจริญพระพุทธมนต์และเลี้ยงพระเหมือนครั้งทรงผนวช เพิ่งจะทรงทำเป็นพิธีใหญ่เมื่อเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นงาน ๓ วัน มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ที่ท้องพระโรง ๖๐ รูปเท่าพระชนมายุ ให้เจ้านายและข้าราชการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระทุกวังทุกบ้าน เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคมคล้ายออกแขกเมือง เจ้านายและขุนนางอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล แล้วพระราชทานเหรียญทองคำตรามงกุฎแก่ข้าราชการ มีเทศนา ๕ กัณฑ์ และสรงมุรธาภิเษก
รัชกาลต่อ ๆ มาได้ถือเป็นราชประเพณีแต่ได้เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยของแต่ละรัชกาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาได้กำหนดดังนี้
เสด็จออกมหาสมาคม
วันที่ ๕ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จฯเข้าสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนถวยสักการะพระสยามเทวาธิราช แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์(ในรัชกาลที่ ๕ - ๖ - ๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน เจ้าจอม หม่อมห้าม ข้าราชการท้าวนางและสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์เฝ้าฯ ถวายพระพรในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อเสด็จออกรับคำถวายพระพรของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าและข้าราชการในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยแล้วจึงเสด็จเจ้ารับคำถวายพระพรของฝ่ายใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนราชประเพณีให้ฝ่ายในทั้งหมดมีตำแหน่งเฝ้าฯ ร่วมกับฝ่ายหน้า) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ที่โต๊ะเคียงด้านขวาทอดพระมหาพิชัยมงกุฎและพานทองคำลงยาวางแผ่นกระดาษพระราชดำรัส ที่ด้านซ้ายทอดพานพระขันหมากและพระสุพรรณศรีทอดพระสุพรรณราชที่ฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน สี่มุมพระราชบัลลังก์หลังพระราชบัลลังก์พนักงานเครื่องสูงถวายอยู่งานพัดโบกคู่หนึ่ง มีมหาดเล็กเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์คือ พระมาลาและพระคทาจอมทัพ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พระแส้หางช้างเผือก พัดวาลวิชนีเข้าริ้วยืนเฝ้าฯ ตามตำแหน่ง
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ ณ เบื้องซ้ายพระราชบัลลังก์นายทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าและราชองครักษ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักเฝ้าฯ เบื้องขวาพระราชบัลลังก์ เมื่อพร้อมแล้วเลขาธิการพระราชวังถวายความเคารพขอพระบรมราชานุญาตให้มหาดเล็กรัวกรับให้สัญญาณชาวม่านไขเปิดพระวิสูตร ตำรวจหลวงชูพุ่มให้สัญญาณถวายความเคารพ พนักงานกระทั่งแตรมโหระทึกทหารกองเกียรติยศที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก (ยิงที่ท้องสนามหลวง) ทหารเรือ (เรือรบหลวงยิงที่หน้าท่าราชวรดิษฐ์) ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ข้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายความเคารพ ครั้นสุดเสียงประโคมแล้วพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมารบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนคณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภากราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ จบแล้ว มหาดเล็กรัวกรับ ตำรวจหลวงชูพุ่มดอกไม้ทอง ชาวม่านไขปิดพระวิสูตร ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ชาวพนักงานประโคมเช่นเวลาเสด็จออก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จลงจากพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีน
งานพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา
บ่ายวันที่ ๕ ธันวาคม เจ้าพนักงานตกแต่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ที่พระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรเชิญ พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันขึ้นประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ ตั้งพระกรัณฑ์ทองคำลงยาบรรจุพระสุพรรณบัฏพระดวงพระบรมราชสมภพมีพานทองคำลงยารองรับคลุมด้วยปักดิ้นทอง ทอดพระมหาสังข์ทักษิณาวัฎ และครอบพระกริ่งสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายสรง บนฐานเขียงพระแท่นราชบัลลังก์ด้านหน้าตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ (เทียนพระมหามงคล ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท หมายถึงมงคล ๘ ประการ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่ากับความยาวของรอบพระเศียร) ข้างซ้ายตั้งเทวรูปชื่อพระราชมุทธาธรเชิญหีบพระราชลัญจกร ข้างขวาตั้งเทวรูปชื่อพระราชบันฦาธารเชิญพระแสงพระราชพิธี สี่มุมพระแท่นราชบัลลังก์ตั้งต้นไม้ทอง - เงิน และตั้งพานพุ่มดอกไม้แจกัน ดอกไม้รอบฐานพระแท่น
ด้านข้างขวาพระแท่นราชบัลลังก์นพปฎลมหาเศวตฉัตร ตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์ (เทียนเท่าพระองค์ ขี้ผึ้งหนักเท่าพระชนมายุ ไส้ ๓๒ เส้น สูงเท่าพระองค์) ยอดตู้ทรงมงกุฎและตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูปเทวรูปนพเคราะห์องค์เสวยพร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูปนพเคราะห์องค์แทรก พร้อมด้วยดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังของเทวรูป
หน้าพระแท่นราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตรทอดเครื่องนมัสการพานทองสองชั้นและเครื่องนมัสการลงยารองพร้อมที่ทรงกราบ ทอดพระราชอาสน์และเครื่องราชูปโภคตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ที่จะรับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ และที่จะเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งโต๊ะปูผ้าขาววางผ้าไตร พัดยศ และเครื่อง
ยศสมณศักดิ์ พร้อมทั้งตั้งเก้าอี้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกฝ่ายเฝ้าฯ
ส่วนที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ชานหน้าพระอุโบสถตั้งโต๊ะปูผ้าขาวสำหรับบรรพชิตญวนและจีนวางเครื่องดอกไม้เงิน – ทองในการถวายพระพร
ภายในพระอุโบสถที่ข้างธรรมาสน์ศิลาตั้งตู้เทียนเท่าพระองค์คู่ ๑ บนธรรมาสน์ศิลาตั้งเทียนพระมหามงคลคู่ ๑ หน้าธรรมาสน์ศิลาทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่และเครื่องนมัสการทองทิศพร้อมที่ทรงกราบแนวผนังด้านเหนือตั้งอาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์ ๕ รูป สวดนวัคคหายุสมธัมม์(เป็นประเพณีมาแต่รัชกาลที่ ๔ กำหนดให้เป็นหน้าที่พระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม สวดนวัคคหายุสมธัมม์) หน้าพระทวารกลางตั้งแท่นปูผ้าขาวตั้งบัตรนพเคราะห์ยอดวางบุษบกประดิษฐานเทวรูปนพเคราะห์มีธงเครื่องกระยาบวช ดอกไม้สี ธูปเทียนตามกำลังเทวดา
แนวผนังด้านใต้ทอดพระราชอาสน์และตั้งเก้าอี้สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์องคมนตรีและข้าราชการเฝ้าฯ
เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิตไปยัง พระบรมมหาราชวังรถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จพระราชดำเนินไปยังชานหน้าพระอุโบสถบรรพชิตญวนและจีนถวายพระพรชัยมงคลและถวายดอกไม้เงิน - ทองแล้วเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนที่พระสงฆ์สวดนวัคคหายุสมธัมม์แล้วจึงทรงจุดธูปเทียนบูชาเทพยดานพเคราะห์ โหรลั่นฆ้องชัย พนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ พระสงฆ์ ๕ รูปเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ โหรบูชาเทพยดานพเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จลงสู่ชานหน้าพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานราชสังคหวัตถุ(๑) แก่ข้าทูลละอองพระบาทผู้สูงอายุแล้วเสด็จพระราชดำเนินออกจากพระอุโบสถไปประทับรถยนต์พระที่นั่งประตูหลังวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปเทียบหน้าพระทวาร เทเวศร์รักษา เสด็จเข้าพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ กองประกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จพระราชาคณะ จบแล้ว พระสงฆ์ ๑๐ รูปเจริญชัยมงคลคาถาชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนสุพรรณบัฏหิรัญบัฎ พัดยศ ผ้าไตร แด่พระสงฆ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ แต่ถ้าปีใดไม่สถาปนาสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะและรอง สมเด็จพระราชาคณะ ไม่มีการอ่านประกาศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ออกไปครองผ้าเรียบร้อยแล้วกลับมานั่งยังอาสนะถวายอนุโมทนา สมเด็จพระราชคณะถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา นิมนต์พระสงฆ์ ๖๐ รูป(๒) ซึ่งจะเจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาขึ้นนั่งยังอาสนะในพระที่นั่งตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนพระมหามงคลเทียนเท่าพระองค์ และทรงจุด ธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปเทวรูปองค์เสวย พระพุทธรูปองค์แรก แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าแท่นราชบัลลังก์เจ้าหน้าที่กอง ศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงศีลแล้ว พระสงฆ์เจริญพระพุททมนต์และเมื่อถึงบทเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนที่ครอบพระกริ่งถวายสมเด็จพระสังฆราช ทรงเสกน้ำ พระพุทธมนต์เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ ทรงจุดเทียนพระมหามงคลบูชาพระสยามเทวาธิราช ๑(๓) แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เมื่อถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินกลับ
การแต่งกาย แต่เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจุลจอมเกล้า
อนึ่ง ในวันนี้ตั้งแต่ ๙ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา สำนักพระราชวังได้จัดที่สำหรับลงพระนามและลงนามถวายพระพรไว้ที่ในพระบรมมหาราชวัง
เลี้ยงพระ
วันที่ ๖ ธันวาคม เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมมหาราชวัง เสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราช ๑ คู่ แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยทางพระทวารราชมเหศวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลปัจจุบัน ทรงจุดเทียนบูชาพระพุทธรูปเทวรูปองค์เสวย พระพุทธรูปเทวรูปองค์แทรกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการพระสงฆ์ ๖๐ รูป ที่เจริญพระพุทธมนต์แต่วันก่อนและพระสงฆ์ที่สวดนวัคหายุสมธัมม์ ๕ รูป ถวายพรพระจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนภัตตาหารแต่สมเด็จพระสังฆราชและประทับทรงปฏิบัติสมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์นอกนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทรงประเคนตามลำดับพระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดเทียนดูหนังสือเทศน์พระราชทานเจ้าหน้าที่นำไปตั้งที่จงกลธรรมาสน์เทศน์ เจ้าหน้าที่กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา อาราธนาธรรม สมเด็จพระสังฆราช ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเศษ(พระธรรมเทศนามงคลวิเศษ เริ่มถวายเมื่อวันบรมราชาภิเษกเป็นราชธรรมจริยานุวัตรที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติยึดถือ การถวายพระธรรมเทศนานี้เป็นกิจของสมเด็จพระสังฆราช นำมาใช้ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา แต่ถ้าสมเด็จพระสังฆราชประชวรหรือไม่สามารถที่จะถวายพระธรรมเทศนาได้จะมอบหมายให้สมเด็จพระราขาคณะ รูปอื่นถวายแทนต้องการบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตก่อน) ซึ่งพรรณนาถึงพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงปฏิบัติในรอบปีที่ผ่านมาโดยหลักที่ทรงปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมจักรวรรดิวัต จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระสังฆราชและพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เจ้าหน้าที่ศุภรัต กองพระราชพิธี จะได้กราบบังคมทูลรายงานทรงพระราชอุทิศนำสัตว์ซึ่งในรัชกาลก่อน ๆ มี หมู วัว ไก่ เป็ด ปลา ไปปล่อย ในรัชกาลปัจจุบันมีเฉพาะแต่ปลานำไปปล่อยที่ท่าราชวรดิษฐ์โดยเจ้าพนักงานทูลเชิญพระราชวงศ์องค์ใดองค์หนึ่งไปทรงปล่อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ใช้น้ำจากพระเต้าที่ทรงหลั่งทักษิโณทกเทตามไปกับปลาที่ปล่อย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่พระทวารเทเวศร์รักษา เสด็จพระราชดำเนินกลับ
เจ้าพนักงานตั้งบายศรีแก้ว ทอง เงิน เวียนเทียนสมโภชดวงพระบรมราชสมภพ มีประโคม สังข์ แตรดุริยางค์ เมื่อเวียนเทียนครบ ๓ รอบแล้ว หัวหน้าพราหมณ์เจิมดวงพระบรมราชสมภพ
การแต่งกาย เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายช้างเผือก
คณะทูตเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
การถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของคณะทูตานุทูตในรัชกาลปัจจุบันแต่เดิมมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเฝ้าฯ ถวายพระพร ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นงานเต็มยศในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุบรรจบครบ ๕๐ พรรษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นถวายพระพรชัยมงคล ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานเลี้ยงน้ำชาเป็นเกียรติแก่คณะทูตานุทูตเป็นพิเศษจากที่เคยมา และโปรดเกล้าฯให้เป็นงานแต่งกายแบบสากล และโปรดเกล้าฯให้ถือปฏิบัติในปีต่อมา มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ ๗ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานไปยังศาลาดุสิดาลัย เสด็จฯ ผ่านพระราชอาสน์ไปทรงยืนที่พระสุจหนี่ที่ทอดถวายไว้ สมุหพระราชมณเทียร กราบบังคมทูลเบิกคณบดีคณะทูตเฝ้าฯถวายพระพรชัยมงคล จบคำถวายพระพรของคณบดี คณะทูตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบ จบ วงดุริยางค์ซึ่งอยู่ที่สนามข้างศาลาดุสิดาลัย บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินนำคณะทูตานุทูตไปยังสนามด้านตะวันตกของศาลาดุสิดาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมุหพระราชมณเฑียรนำคณะทูตานุทูตตามเสด็จฯ เพื่อรับพระราชทานเลี้ยงน้ำชาและเครื่องว่างและโปรดเกล้าฯ ให้เชิญองคมนตรี คณะรัฐมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่บางท่านไปเฝ้าฯรับพระราชทานเลี้ยงน้ำชาด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะทูตานุทูตตามพระราชอัธยาศัย สมควรแก่เวลา เสด็จขึ้นดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเสร็จสิ้น งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลขาธิการพระราชวังออกบัตรกราบทูลและเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี รัฐมนตรี คณะทูตานุทูต ข้าราชการฝ่ายทหาร ตั้งแต่ยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ขึ้นไป ข้าราชการฝ่ายพลเรือนตั้งแต่ชั้นเอกขึ้นไป ตลอดจนพ่อค้าคหบดีและผู้มีเกียรติอื่น ๆ ที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ มารับพระราชทานเลี้ยงงานนี้เรียกว่า ราชอุทยานสโมสร ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๘ ธันวาคม เวลา ๑๗ นาฬิกา ณ บริเวณสวนศิวาลัย ในพระบรมมหาราชวัง แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ แต่งานนี้เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปรกติก็โปรดเกล้าฯ ให้งด
อนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐบาลสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นวันสำคัญของชาติ มีการเฉลิมฉลองดังข้อความในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อไปนี้
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองชาติไทยในวันที่ ๒๔ มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้งหลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาโดยมี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่าง ๆ ที่เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องในชาติต่าง ๆ กัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐานวันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ละประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติโดยทั่วไปนั้นได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติเช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมานานแล้ว เพิ่มจะมากำหนดเอาวันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง
คณะกรรมการฯ จึงมาความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยต่อไป โดยยกเลิกวันชาติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน เสีย
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบด้วยจึงได้ลงมติยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑ เรื่องวันชาติ นั้นเสีย และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยด้วย ต่อไปตั้งแต่บัดนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓
เนื่องด้วยประกาศให้ถือวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดมีงานสโมสรสันติบาตรที่ทำเนียบรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกบัตรกราบทูลเชิญและเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะทูตานุทูต ผู้มีเกียรติทั้งไทยและต่างประเทศ ข้าราชการผู้ใหญ่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ไปในงานนี้เพื่อถวายพระพรชัยมงคล การแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ
อนึ่ง ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษากองทัพไทยได้จัดให้กรม กองทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ลานพระราชวังดุสิตบริเวณพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง (เปิดประทุน) มีนายทหารราชองครักษ์เชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ครุฑพ่าห์ขึ้นรถนำเสด็จฯ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ตามเสด็จ เมื่อทรงตรวจพลเสร็จแล้วเสด็จฯ ประทับพลับพลา กองทหารถวายคำสัตย์ปฏิญาณ ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ แล้วทอดพระเนตรทหารเดินสวนสนามตามลำดับ แล้วเสด็จฯกลับ
การแต่งกาย เครื่องแบบเต็มยศ
(คัดลอกจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม ๓ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๕)
สำหรับวันพ่อแห่งชาติ(สุภักดิ์ อนุกูล วันสำคัญของไทย, หน้า ๑๑๕ - ๑๑๘,) นั้นจัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ
โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์
เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
"อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฏร์ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือพระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า
"ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสินพระคือบิดาข้าแผ่นดินร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพรลุ 5 ธันวามหาราช"วันพ่อแห่งชาติ" คือองค์อดิศรพระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทรพสกนิกรเป็สุขทุกคืนวัน"
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์
วันพ่อแห่งชาติ
ความหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๕๘๗) พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
พุทธศาสนา (สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ทรรศนะเกี่ยวกับสังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์โดยสังเขป หน้า ๑๐๐) ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
- บิดา (พ่อ)
- ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
- สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
ความเป็นมาของวันพ่อ (สุภักดิ์ อนุกูล วันสำคัญของไทย, หน้า ๑๑๕ - ๑๑๗)
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ
โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า
“อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์ ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือพระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี
และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า
“ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสินพระคือบิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพรลุ ๕ ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิเรก พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน”
คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ ดอกพุทธรักษา ดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์

วันสงกรานต์

สงกรานต์จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"vzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvz
ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ตำนานนางสงกรานต์ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[1] กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน
ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้
ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ
จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ) ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู) ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง) ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง) สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า
วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี วันพุธ ชื่อ นางมันทะ วันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี
กิจกรรมในวันสงกรานต์การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้ การดำหัว ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่ การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด
สงกรานต์ในแต่ละท้องที่สงกรานต์ 4 ภาคสงกรานต์ภาคเหนือ(สงกรานต์ล้านนา)หรือ"ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่"วันสังขารล่อง"(13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล "วันเนา"หรือ"วันเน่า"(14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี "วันพญาวัน"หรือ"วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย"วันปากปี"(16 เม.ย.)ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆเพื่อขอขมาคารวะ และ"วันปากเดือน"(17 เม.ย.)เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ"ตรุษสงกรานต์" และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์(13 เม.ย.)เป็น"วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน"วันว่าง"(14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น"วันรับเจ้าเมืองใหม่"(15 เม.ย.)จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงาม ส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์ สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" วันที่ 14 เป็น"วันกลาง"หรือ"วันเนา" วันที่ 15 เป็นวัน"วันเถลิงศก" ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
สงกรานต์ตามประเพณีที่แตกต่างสงกรานต์ผูกสายสิญจน์เชื่อมโยงพระธาตุสองแผ่นดิน หรือสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว ณ อ.เมือง และ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ในงานจะมีการฮดสรง หรือสรงน้ำพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย สงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ หรือประเพณีสงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ ณ เกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จ.ชลบุรี ภายในงานมีกิจกรรมเช่น พิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ พิธีกองข้าวบวงสรวง รดน้ำดำหัว การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน แข่งขันเรือกระทะ เรือชักกะเย่อ มวยตับจาก ปาลูกดอก แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง การแสดงดนตรี และประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ สงกรานต์นางดาน หรือเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ณ สวนศรีธรรมาโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลสงกรานต์เมืองนครนี้ จะมีมหกรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง กิจกรรมนั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์ นั่งสามล้มโบราณชมเมืองเก่า พิธีพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 6 แหล่ง จตุคามรุ่นสรงน้ำ 50 เป็นต้น
สงกรานต์แปลกแหวกแนวสงกรานต์ปาร์ตี้โฟม มีพื้นที่ปาร์ตี้โฟมที่ปิดล้อมด้วยพลาสติกใส สงกรานต์ล่องเรือสาดน้ำ เช่นที่ตลาดน้ำตลิ่งชัน นักท่องเที่ยวสามารถพบความสนุกสนานจากการนั่งเรือหางยาว สาดน้ำสงกรานต์กับชุมชนริมสองฟากฝั่งคลอง และยังได้ชมสวนกล้วยไม้ ทำบุญให้อาหารปลา หรือแวะซื้อขนมหวาน ผลไม้จากแพ และมีไกด์คอยบรรยายและอำนวยความสะดวกตลอดการเดินทาง หาดใหญ่ มิดไนท์ สงกรานต์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการจัดกิจกรรมสงกรานต์และการสาดน้ำในยามค่ำคืน ณ ถนนเสน่หานุสรณ์ และถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 23.00 น. โดยเทศกาลนี้ได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
พื้นที่เด่นในการจัดงานสงกรานต์ในประเทศไทยภาคเหนือป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง: 13 - 15 เมษายน บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ ศรีสัชนาลัย: 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประเพณีสงกรานต์อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย : 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ภาคอีสานมหาสงกรานต์อีสานหนองคาย(สงกรานต์ไทย-ลาว): 6 - 18 เมษายน บริเวณหาดจอมมณีแม่น้ำโขงและวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทยลาว: 12 - 15 เมษายน อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม สุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน-เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว: 8 - 15 เมษายน บริเวณบึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น
ภาคกลางมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร: 8 - 15 เมษายน บริเวณสนามหลวง ถนนข้าวสาร และรอบเกาะรัตนโกสินทร์ Summer Fave 2007 city on the beach: 12 - 16 เมษายน ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า: บริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา ประเพณีสงกรานต์พระประแดง: 20 - 22 เมษายน บริเวณเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ งานประเพณีวันไหลพัทยา-นาเกลือ: 18 - 19 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะลานโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน: 16 - 17 เมษายน บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมืองล จังหวัดชลบุรี งานประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว: 19 - 21 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเพณีสงกรานต์เกาะสีชัง: 13 - 19 เมษายน บริเวณเกาะสีชังและเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี
ภาคใต้งานเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช แห่นางดาน: 11- 15 เมษายน บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช Songkran the Water Festival on the Beach: 12 - 16 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะโลมา และเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์: 12 - 13 เมษายน บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศและถนนเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แม่งานใหญ่ของงานเทศกาลตามพื้นที่เหล่านี้ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และทางจังหวัด
สงกรานต์ในกลุ่มชาวใต้ชาวไตในสิบสองปันนาโดยเฉพาะเมืองจี่งหง จะจัดงานสาดน้ำสงกรานต์ ในวันที่ 13-15 เมษายน โดยเรียกว่างานเทศกาลพัวสุ่ยเจี๋ย
สังคมวิจารณ์วันสงกรานต์เสมือนกับวันครอบครัวที่สมาชิกกลับมารวมตัวกัน นอกจากนั้นยังมีการเล่นน้ำเพื่อความสนุกสนานและคลายร้อน อย่างไรก็ตามในการเล่นน้ำในหลายกรณีมีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การสาดน้ำใส่ผู้ที่ไม่ต้องการเล่นสงกรานต์ การลวนลามสตรีโดยการปะแป้งถูกเนื้อต้องตัว ฯลฯ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจจะปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้

คำทำนายเกี่ยวกับสงกรานต์ตามตำราพรหมชาติ ฉบับหลวง ได้ให้คำทำนายเกี่ยวกับวันสงกรานต์ไว้ดังนี้
วันมหาสงกรานต์ถ้าปีใดวันมหาสงกรานต์เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย ถ้าวันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแล ถ้าวันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้ข้าไท พระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจกันแล ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล ฯ
วันเนาถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแล ถ้าวันจันทร์เป็นวันเนา เกลือจะแพง นางพระยาจะร้อนใจ มักจะเกิดความไข้ต่าง ๆ ถ้าวันอังคารเป็นวันเนา หมากพลู ข้าวปลาจะแพง จะแพ้อำมาตย์มนตรีทั้งปวง ถ้าวันพุธเป็นวันเนา ข้าวจะแพง คนทั้งหลายจะได้รับความทุกข์ร้อน แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเนา ลูกไม้จะแพง ตระกูลทั้งหลายจะร้อนใจนักแล ถ้าวันศุกร์เป็นวันเนา ข้าวจะแพง แร้งกาจะตายห่า สัตว์ในป่าจะเกิดอันตราย ถ้าวันเสาร์เป็นวันเนา ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์จะร้อนใจนัก ผักปลาจะแพงแล ฯ
วันเถลิงศกถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแล ถ้าวันจันทร์เป็นวันเถลิงศก พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง ถ้าวันอังคารเป็นวันเถลิงศก อำมาตย์มนตรีทั้งปวงจะอยู่เย็นเป็นสุข แม้จะต่อยุทธ์ด้วยปัจจามิตร ณ ที่ใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล ถ้าวันพุธเป็นวันเถลิงศก ราชบัณฑิต ปุโรหิตโหราจารย์ จะมีสุขสำราญเป็นอันมาก ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเถลิงศก สมณะพราหมณาจารย์จะปฏิบัติชอบด้วยธรรมวินัยอันประเสริฐแล ถ้าวันศุกร์เป็นวันเถลิงศก พ่อค้าพานิชทั้งหลาย อันไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยพัสดุเงินทอง และมีความสุขเป็นอันมากแล ถ้าวันเสาร์เป็นวันเถลิงศก หมู่ทแกล้วทหารทั้งปวง จะประกอบไปด้วยความสุข และวิชาการต่าง ๆ แม้จะกระทำยุทธ์ด้วยข้าศึก ณ ทิศใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล ฯ

ประเทศไทย

ประวัติศาสตร์จาก หลักฐานทางโบราณคดีซึ่งค้นพบในพื้นที่หลายแห่งของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี ที่อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี หรือที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง ปรากฎร่องรอยอารยธรรมอันเก่าแก่ของโลก ซึ่งมีอายุเกือบ 6 พันปี ชนชาติที่ครอบครองดินแดนแห่งนี้ในยุคโบราณนั้น เป็นชนชาวละว้าและชาวป่าเขาในตระกูลมอญ และขอมโบราณ ดัง หลักฐานที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ อาณาจักรลพบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 มีอาณาจักร 3 แห่ง ที่ครอบครองดินแดนในแถบนี้ ได้แก่
o อาณาจักรขอม ครอบครองดินแดนลุ่มน้ำโขงและน้ำมูลทางตะวันออกลงไป มีเมืองหลวงอยู่ที่นครวัด ในกัมพูชา (ปัจจุบัน) o อาณาจักรทวารวดี มีชนชาติมอญครอบครองพื้นที่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปถึงดินแดน ตอนเหนือ ของคาบสมุทรมลายา มีเมืองศูนย์กลางตั้งอยู่ที่นครปฐม o อาณาจักรศรีวิชัย อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายา มีชาวมลายูครอบครองอยู่ ในระหว่างนั้นชนชาติไทยโบราณได้ค่อย ๆ อพยพโยกย้ายลงมาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และตั้งอาณาจักร เป็นหลักแหล่งขึ้น ตามที่ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในบริเวณมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในเขตสิบสองปันนา เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า
เนื่องจากอาณาจักรน่านเจ้าถูกรุกรานจากชนชาติจีนซึ่งเข้มแข็งกว่า ประกอบกับคนไทย มีอาชีพกสิกรรม จึงเดินทาง ถอยลงมาทางใต้ตามแนวแม่น้ำโขง เพื่อแสวงหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม และตั้งอาณาจักรเป็นหลักแหล่งขึ้นใหม่ หลายแห่งในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในความครอบครองของชนชาติขอม
เมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ได้ปรากฎอาณาจักรลานนาไทย หรือล้านนาขึ้นบนฝั่งแม่น้ำโขงในบริเวณที่ตั้ง ของอำเภอเชียงแสน จ.เชียงรายในปัจจุบัน และอาณาจักรลานช้าง หรือล้านช้าง อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงพระบางของ ลาวในปัจจุบัน
ต่อมาชาวไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเข้ามาอยู่ในดินแดนของขอม ได้รวมตัวกันขึ้นและสถาปนา อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งแปลว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" เป็นอิสระพ้นจากอำนาจของขอม มีพระร่วงเจ้าหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นกษัตริย์พระองค์ แรก และมีกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมาอีกหลายพระองค์ ที่สำคัญพระองค์หนึ่ง คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นช่วงที่บ้านเมืองสงบสุข ปราศจากศึกสงคราม
ในระหว่างนั้น (ราวศตวรรษที่ 14) ได้มีชนชาติไทยอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้ตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ เรียกว่า กรุงศรีอยุธยา ภายใต้การนำของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เมื่ออาณาจักร เข้มแข็งขึ้นจึงได้รวบรวมอาณาจักรอื่น ๆ เข้าไว้ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้งหมด ซึ่งกรุงสุโขทัยก็ได้ตกเป็น ประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1894 และมีการขยายอำนาจออกไปทั่วบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน แหลมมลายู จนถึงเกาะปีนังและสิงคโปร์ มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติหลายประเทศ จึงเป็นโอกาสที่วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้เผย แพร่เข้ามา
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2112-2124 กรุงศรีอยุธยาได้สูญเสียเอกราชครั้งที่ 1 ให้แก่พม่า ซึ่งต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกอบกู้แผ่นดินคืนได้ และประกาศอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. 2127 จากนั้นได้ทรงขยายอาณาเขตให้กว้างไกลออกไป กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ แผ่นดินร่มเย็นเป็นสุข มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบเนื่องกันมารวม 33 พระองค์
ในปี พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาได้ถูกรุกรานและตกอยู่ภายใต้การ ปกครองของพม่าอีกเป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากผู้ปกครองขาดความสนใจใน หน้าที่บ้านเมือง เกิดความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก บ้านเมืองระส่ำ ระสาย ขาดเสถียรภาพ กอปรกับการว่างเว้นจากศึกสงครามมานาน พม่า จึงได้ใช้ยุทธวิธีสงครามแบบกองโจรทำให้ตีกรุงศรีอยุธยาได้โดยง่าย
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นเจ้าพระยาตาก ได้ รวบรวมไพล่พลประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรี เมื่อรวบรวมชาวไทยที่รักชาติได้ เป็นปึกแผ่นแล้ว จึงยกพลเข้าตีกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ในปีเดียวกัน แต่เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้รับความ เสียหายเกินกว่าที่จะฟื้นฟูได้ในระยะเวลานั้น และพม่ารู้เส้นทางดีอยู่แล้ว จึงเกรงว่าจะทำให้รักษาบ้านเมืองไว้ได้ยาก จึงทรงย้ายเมืองหลวงมาที่ กรุงธนบุรี และปกครองบ้านเมืองมาจนกระทั่งถึง พ.ศ.2325 รวมระยะเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี 15 ปี
จากการที่ต้องทำสงครามกับพม่าและต้องรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกทั้งต้องทนุบำรุงบ้านเมือง ตลอดเวลา เศรษฐกิจของกรุงธนบุรีจึงอยู่ในสภาพที่ตกต่ำมาก พระยาจักรีนายทหารผู้กล้าแห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งได้ ร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้เอกราชของบ้านเมืองเมื่อคราวเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงสร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2325 ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ดีกว่าด้วยประการทั้งปวง และพระราชทานนามว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์"
ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และ 19 (ปี พ.ศ.2394-2453 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4-5) ประเทศในแถบเอเชียตอนใต้ ตกเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ดำรงความเป็นเอกราชมาได้ตลอด เพราะพระปรีชาสามารถในการดำเนินวิเทโศบายด้านการเมืองขององค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยทรงเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศมหาอำนาจ และดำเนินการด้านการค้า และสัญญาต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งต้องยอมสูญเสียดินแดน หรือผล ประโยชน์ของประเทศในบางส่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติ
ประเทศไทยเจริญรุ่งเรืองภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องมา จนถึงรัชกาลปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หรือ พระรามาธิบดีที่ 9 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
จากประวัติศาสตร์ของไทยจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องราวของการสร้างชาติ การต่อสู้และการกอบกู้อิสรภาพ ตลอดจนการ ติดต่อมีสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพื่อเหตุผลทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ ซึ่งระยะเวลาอันยาวนานนี้ ชาติไทยได้มีโอกาสรับวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ไว้มากมาย เช่น วัฒนธรรมจีน ลาว กัมพูชา พม่า อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และวัฒนธรรมของชาติในทวีปยุโรป คนไทยจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสหยิบยืมวัฒนธรรมมากกว่าจะได้มี โอกาสหยุดยั้งและคิดสร้างวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนขึ้นเอง
อย่างไรก็ตาม คนไทยก็สามารถนำวัฒนธรรมของชาติอื่นมาประยุกต์และปรับใช้ให้เข้ากับคุณลักษณะและคุณสมบัติ ของคนไทย ตลอดจนพัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบไทย หรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคนไทยเองได้เป็นอย่างดี
ประเทศไทย หรือประเทศสยามคนไทยนั้นไม่เคยเรียกตนเองว่า "สยาม" เลย นอกจากจะเรียกว่า "ไทย" แต่ชาวต่างชาตินิยมเรียกประเทศไทยว่า สยาม (Siam) และเรียกคนไทยว่า "ไซมีส" (Siamese) สำหรับลำดับการเรียกชื่อประเทศในสังคมไทยนั้น พอจะสรุปได้ ดังต่อไปนี้ คือ
1. เดิมทีคนไทยเรียกชื่อประเทศโดยใช้ชื่อเมืองหลวงเป็นชื่อประเทศ เช่น กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ 2. ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ ได้เรียกชื่อประเทศว่า กรุงศรีอยุธยา3. ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแยกชื่อเมืองหลวงออกจากชื่อประเทศ ตามแบบตะวันตก คือ เรียกประเทศว่า "สยาม" โดยได้ทรงลงพระปรมาภิไธยว่า Rex Siamensis4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรปี พ.ศ. 2475 ใช้ชื่อว่ารัฐรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม และมาตรา 1 ระบุว่า "ประเทศสยามเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้"5. พ.ศ. 2480-2481 ในสัญญาทางพระราชไมตรีการพาณิชย์ การเดินเรือกับต่างประเทศใช้คำว่า "ประเทศสยาม" "ราชอาณาจักรสยาม" "รัฐบาลสยาม" แต่เมื่อกล่าวถึงภาษาใช้คำว่า "ภาษาไทย" และมีบางแห่งใช้ไทยและสยามปน ๆ กันไป 6. พ.ศ. 2482 ในสมัยจอมพลหลวงพิบูลสงคราม มีการประกาศใช้ประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ประชาชน และสัญชาติว่า "ไทย" 7. รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามของประเทศปีพุทธศักราช 2482 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2482 โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า ให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และบทรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่ใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน จึงเท่ากับเป็นการฆ่าคำว่า "สยาม" ให้ตายไปโดยสิ้นเชิง นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจะต้องเรียกคนไทยว่า "ไทย" (Thai) และเรียกชื่อประเทศว่า ประเทศไทย (Thailand) ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น
8. ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ ประกาศใช้ชื่อประเทศไทยใน ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสว่า "Siam" ชื่อประเทศไทยและภาษาไทยว่า "ประเทศไทย" ส่วนสัญชาติ ผู้ถือหนังสือเดินทางเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "Siamois" ในขณะเดียวกันนั้น ประเทศอังกฤษได้ขอตั้งเงื่อนไขขอเรียกชื่อประเทศไทยว่า "ประเทศสยาม" ซึ่งรัฐบาลไทยก็มิได้ขัดข้องประการใด จึงดูเหมือนว่าชาวต่างประเทศจะเรียก สยาม ก็ได้ ไทย ก็ได้9. เมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี คงเรียกประเทศว่า "ประเทศไทย" ส่วนการเรียกในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสให้เรียก "Siam" 9. เมื่อเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี คงเรียกประเทศว่า "ประเทศไทย" ส่วนการเรียกในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสให้เรียก "Siam" 10. เมษายน พ.ศ. 2491 เมื่อจอมพลหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายควง อภัยวงศ์ รัฐบาลกลับเปลี่ยนชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษว่า "Thailand" และฝรั่งเศสว่า "Thailande" ซึ่งคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ 11. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ได้เขียนลงไว้ว่า "ประเทศไทย" 12. พ.ศ. 2511 สภาร่างรัฐธรรมนูญมีการอภิปรายเปลี่ยนชื่อจาก "ไทย" เป็น "สยาม" แต่สมาชิกส่วนมากไม่ยอมรับ 13. พ.ศ. 2517 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้อภิปรายในเรื่องเดียวกันนี้ แต่สมาชิกส่วนมากไม่ยอมรับเช่นกัน
ชนชาติไทยชนชาติไทยมาจากไหนเรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยเป็นที่สนใจสำหรับนักประวัติศาสตร์และ นักมานุษยวิทยาเป็นอย่างยิ่ง ได้มีการใช้หลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารจดหมายเหตุของจีนและหลักฐานทาง โบราณคดีซึ่งเพิ่งศึกษากันในราวปี พ.ศ. 2504 มาเป็นข้อมูลสำคัญ จนสรุปเป็นทฤษฎีว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเก่า และทฤษฎีใหม่
1. ทฤษฎีเก่านักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชนชาติไทยนั้น แต่เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของจีน แถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันนี้ Dr.William Dodd หมอสอนศาสนาได้เสนอข้อคิดเห็นดังกล่าวไว้ใน หนังสือชื่อ "The Thai Face Elder Brother of the Chinese" ซึ่งก็ตรงกับนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ Wolfram Eberhard ซึ่งได้อาศัยหลัก Cultural Anthropology ที่ว่าชนชาติไทยมีแหล่งกำเนินอยู่ทางตะวันออก ของมณฑล Shang (สาง หรือ เสียง) อยู่ในบริเวณมณฑลกวางตุ้ง และก็มีนักประวัติศาสตร์บางคน เช่น ขุนวิจิตรวาท การ ว่าชนชาติไทยนั้นแต่เดิมมีหลักแหล่งอยู่แถบบริเวณภูเขาอัลไต (Altai) โดยมีบางคนสันนิษฐานว่าเพราะมีคำลงท้าย ว่า Tai ซึ่งที่จริงนั้นคำว่า Altai เป็นภาษามองโกล แปลว่า "ทอง" ภูเขาอัลไตแปลว่า "ภูเขาทอง" มิใช่คำผสมระหว่าง "อัล" และ "ไต" อย่างที่เขาใจกัน ต่อมาเมื่อ 1028 ปีก่อนคริสตศักราช หรือ 485 ปีก่อนพุทธศักราช ราชวงศ์โจวซึ่งเป็น จีนแท้ได้โจมตีราชวงศ์สางสำเร็จ ชนชาติไทยจึงได้อพยพลงมาตามลำน้ำแยงซีไปยังมณฑลเสฉวนและยูนนาน โดยมีเมือง สำคัญที่จารึกไว้ในจดหมายเหตุของจีน คือ เมืองเฉินตู และคุนมิง ในศตวรรษที่ 13 ชนชาติไทยจึงกระจัดกระจายไปในที่ ต่าง ๆ แถบแคว้นยูนนานของประเทศจีนปัจจุบัน
สำหรับแนวคิดเรื่องการถอยร่นลงมาจากเสฉวนจนถึงยูนนานนั้น ได้เป็นที่ยอมรับของ ดร.ขจร สุขพานิช นักประวัติ ศาสตร์ไทยซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยหลายปี ท่านได้เขียนหนังสือชื่อ "ถิ่นกำเนิดและแนวการอพยพ ของเผ่าไทย" คล้ายกับความคิดเห็นของ Wolfram Eberhard และยังได้เพิ่มเติมว่าก่อนอพยพเข้ามาที่อาณาจักรน่าน เจ้านั้น ชนชาติไทยเคยตั้งอาณาจักรที่มณฑลกวางตุ้งมาก่อนแล้ว
จากศตวรรษที่ 13-15 ชนชาติไทยสามารถรวมตัวกันเป็นอาณาจักรขึ้นมาได้ เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า แปลว่า "เจ้า ทิศใต้" ซึ่งก็ได้สูญสิ้นชื่อไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 1796 เพราะจักรพรรดิจีนองค์แรกในราชวงศ์หยวน คือ พระเจ้ากุบไลข่าน ผู้นำชาติมองโกลได้ยกทัพมาตีน่านเจ้าแตกไป ชนชาติไทยจึงต้องอพยพลงมาในแหลมอินโดจีนในดินแดนที่ต่อมาได้ชื่อว่า อาณาจักรเชียงแสน หรือล้านนาไทย ต้องต่อสู้กับพวกชนชาติที่อยู่เดิม คือ พวกละว้า และพวกขอมดำ ขณะเดียวกันชนชาติ ไทยบางพวกก็อพยพลงมาอยู่ที่แคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ ซึ่งต่อมาเป็นแคว้นสุโขทัย และขณะนั้นอยู่ภายใต้การ ปกครองของอาณาจักรเขมรลพบุรี เมื่อพวกไทยรวมตัวกันและมีพลังมากขึ้นก็รวมตัวกันตั้งเป็นแคว้นอิสระ มีเมืองสุโขทัย เป็นราชธานีเมื่อปี พ.ศ. 1781 George Caedes ชาวฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนทฤษฎีเก่านี้ สรุปว่าชนชาติไทยนั้นอพยพจากเหนือลงใต้ โดยอาศัย แม่น้ำเป็นหลัก เป็นการอพยพอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าถูกมองโกลรุกราน คนไทยจำนวนมากได้อาศัย ลำน้ำ 2 สาย คือ ลำน้ำโขง แล้วมาตั้งหลักแหล่งที่อาณาจักรล้านช้าง (เวียงจันทน์และหลวงพระบาง) บ้าง ที่ล้านนา (เชียงใหม่ เชียงแสน) บ้าง และที่สุโขทัย ส่วนที่อพยพไปตามลำน้ำสาละวินนั้นได้ไปตั้งหลักแหล่งถึงแคว้นอัสสัมของ อินเดียและรัฐฉานของพม่าก็มี
2. ทฤษฎีใหม่นักโบราณคดีเสนอข้อสรุปว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้นก็คือ บริเวณภาคอีสานของไทย และแถบจังหวัด กาญจนบุรีของไทยปัจจุบัน มิได้อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนอย่างทฤษฎีเก่าอ้างไว้ แต่ถ้าหากจะมีการอพยพจริงก็ คงจะเป็นการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ เช่น อพยพขึ้นไปอยู่แถบแคว้นสิบสองจุไทย และแคว้น ยูนนาน เพราะได้มีการพบ หลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นหาซากโบราณที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยการใช้ C14 ทดสอบ ทำให้ทราบอายุของโครงกระดูกที่กาญจนบุรี ว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 5-6 พันปี
นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ทำการศึกษาความหนาแน่นของ กลุ่มเลือด ได้พบว่ากลุ่มเลือดของคนไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนภาคใต้ในชวา จึงเสนอความเห็นสนับสนุนทฤษฏีว่า ชนชาติไทยอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ คือ อพยพจากเกาะชวาขึ้นมาอยู่ที่แผ่นดินใหญ่
เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรน่านเจ้านั้นก็มีนักทฤษฎีใหม่ชื่อ Frederick Mote เขียนไว้ใน "ปัญหาก่อนประวัติศาสตร์" ว่าชนกลุ่มใหญ่ในอาณาจักรน่านเจ้าไม่ใช่ไทย แต่ไทยนั้นมีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อมาถูกขอมและ เขมรรุกรานจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือ แต่แบ่งแยกออกเป็นหลายพวก เข้าไปในเวียดนามที่เกาะไหหลำและที่แคว้นยูนนาน
นอกจากนั้นแล้วนักประวัติศาสตร์จีน 2 คน คือ ตูยูตินและเชนลูฟาน (Tu Yu-tin และ Chen Lu-fan) เขียนบท ความเรื่อง "ชัยชนะของกุบไลข่านเหนือเมืองตาลีโกว (ตาลีฟู)" ได้ทำให้คนไทยจำนวนมากอพยพลงมาทางใต้หรือไม่ โดยศึกษาเอกสารของจีนในราชวงศ์หยวนและเหม็ง พบว่า เมื่อกุบไลข่านยกมาตีน่านเจ้านั้นได้ตกลงกันอย่างสันติวิธี มิได้มี การโจมตีอย่างรุนแรงจนทำให้ไทยต้องอพยพมาครั้งใหญ่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1924 น่านเจ้าจึงสิ้นสุดลงเมื่อราชวงศ์เหม็ง ยึดอำนาจจากมองโกล ได้รวมน่านเจ้าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตอนนี้เองจึงได้มีการอพยพ ทั้งนี้ได้เสนอว่าคนไทยที่อยู่ น่านเจ้านั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยใน 6 กลุ่ม ถิ่นกำเนิดของชาติไทยแต่เริ่มแรกจึงอยู่ที่ภาคเหนือของไทยปัจจุบันนี้ มิได้ อพยพมาจากจีนตอนใต้ และไทยในน่านเจ้าไม่เคยอพยพลงมาที่ประเทศไทยปัจจุบัน ดังนั้น ไทยในน่านเจ้าและ ไทย ปัจจุบันนี้จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน
สรุปแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยนั้น สรุปได้ 2 ทฤษฎี คือ
ทฤษฎีเก่า ที่สรุปว่าชนชาติไทยมีภูมิลำเนาเดิมทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน แล้วอพยพลง มาจนถึงแคว้นสามเทศ หรือสยามเทศ หรือประเทศไทยปัจจุบัน คือ อพบยพจากเหนือลงใต้ ส่วนทฤษฎีใหม่ คือ ชนชาติ ไทยมิได้อพยพถอยร่นมาจากที่ใด แต่ถ้าจะอพยพก็จากใต้ขึ้นเหนือ ทั้งทฤษฎีเก่าและใหม่นั้นยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ อยู่ เสมอ สำหรับทฤษฎีเก่ามักจะถูกตั้งคำถามว่า จริงหรือที่ชนชาติไทยจะทิ้งถิ่นฐานอันอุดมสมบูรณ์ แล้วก็ออกเดินทางผ่าน ทะเลทรายอันแห้งแล้งจนลงไปถึงสามประเทศ (สยามประเทศ) เพราะหลักการอพยพนั้นมนุษยชาติมักจะย้ายที่อยู่จาก แหล่งอัตคัดไปสู่ดินแดนใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าเสมอ และมีบางคนที่คัดค้านว่าชนชาติไทยนั้นเป็นพวกที่ไม่ชอบเดินทาง ไกล ๆ แต่ชอบอยู่ติดกับที่ และนิยมการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก
สำหรับทฤษฎีใหม่นั้นถูกโจมตีว่าหละหลวมจนเกินไป เพราะโครงกระดูกที่พบอาจมิใช่โครงกระดูกของคนไทยก็เป็น ไปได้ ส่วนกลุ่มเลือดของคนที่ตรวจนั้นก็อาจจะมิใช่คนไทยแท้ เพราะมีการผสมกันมานานหลายเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับทฤษฎีเก่ากันอยู่ เพราะว่ามีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแน่ชัดกว่า

การบินไทย

ประวัติการบินไทย สายการบินแห่งชาติ บริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) เป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินกิจการในด้านการบินพาณิชย์ในประเทศ และระหว่างประเทศ ในฐานะสายการบินแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นรัฐวิสาหกิจของชาติ ที่ดำเนินกิจการแข่งขันกับต่างประเทศ ในธุรกิจการบินโลก และเป็นรัฐวิสาหกิจที่สามารถทำกำไรต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งยังได้รับการยกย่องในด้านต่างๆ ให้อยู่ในระดับสายการบินชั้นนำของโลกเสมอมาการบินไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยการทำสัญญาร่วมทุนระหว่าง บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับสายการบินสแกนดิเนเวียน แอร์ไลน์ ซิสเต็ม หรือใช้ชื่อย่อว่า เอส เอ เอส เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจการบิน ระหว่าง ประเทศ และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2503 ด้วยทุน จดทะเบียน 2 ล้านบาท โดยบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 70 และ เอส. เอ. เอส. ถือหุ้นร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียนต่อมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2520 เอส. เอ. เอส. ได้โอนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดให้แก่ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด และถือเป็น การยกเลิกสัญญาร่วมทุน ก่อตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2503 โดย บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด กับบริษัทสายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ ซิสเต็มหรือใช้ชื่อย่อว่า เอส เอ เอส ได้ร่วมลงทุนกิจการด้วยทุนเพียง 2 ล้านบาท โดยเดินอากาศไทยถือหุ้นร้อยละ 70 และ เอส เอ เอส ถือหุ้นร้อยละ 30ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการเพิ่มทุนอย่างเป็น ขั้นตอนตลอดมาจนถึงปีพุทธศักราช 2520 บริษัท เดินอากาศไทย ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดคืนจาก เอส เอ เอส ตามมติ คณะรัฐมนตรี และมอบโอนหุ้นที่ซื้อมาให้กระทรวงการคลัง ดังนั้น การบินไทย จึงเป็นสายการบินของคนไทยอย่างแท้จริง และมีบริษัท เดินอากาศไทยกับกระทรวงการคลังเป็นผู้ร่วมถือหุ้น ต่อมาเมื่อวันที่1 เมษายน 2531 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการรวมกิจการการบินภายในประเทศที่ดำเนินการโดยบริษัทเดินอากาศไทยจำกัดเข้ากับกิจการของบริษัทฯ เป็นผลให้เงินทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเป็น 2,230 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ดังนั้นบริษัทฯ จึงเป็นสายการบินแห่งชาติที่รับผิดชอบกิจการ การบินพาณิชย์ ทั้งเส้นทางบินระหว่างประเทศ และเส้นทางบินภายในประเทศทั้งหมด และเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินธุรกิจที่สำคัญเกิดขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี มีมติให้ดำเนินการดังนี้1. นำบริษัท ฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย2. เพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 3,000 ล้านบาท โดยนำหุ้นเพิ่มทุนส่วนแรกจำนวน 100 ล้านหุ้น ในราคาตามมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ออกจัดสรรก่อน3. ให้จัดหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 5 ล้านหุ้น ขายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ในราคาตามมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท4. จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนที่เหลืออีกจำนวน 95 ล้านหุ้น เสนอขายประชาชนทั่วไปทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นการระดมทุนจากภาคเอกชน อันจะทำให้การบินไทย มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการพาณิชย์ รวมทั้งเป็นการให้ประชาชนและพนักงาน ได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสายการบินแห่งชาติด้วยบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 โดยได้ทำการแปลงกำไรสะสมให้เป็นหุ้นเพิ่มทุนทำให้บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนเป็น13,000 ล้านบาท และทำการเพิ่มทุน จดทะเบียนใหม่อีกจำนวน 3,000 ล้านบาท รวมเป็นทุนจดทะเบียน 16,000 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 14,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง ถือหุ้นร้อยละ 79.5 และธนาคารออมสินถือหุ้นร้อยละ 13.4 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 7.1 กระจายสู่นักลงทุนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพนักงานของบริษัทฯ และในวันที่20-21 พฤศจิกายน 2546 บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปจำนวน 442.75 ล้านหุ้น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2543 วันที่ 20 สิงหาคม 2545 และวันที่ 16 กันยายน 2546 โดยหุ้นที่เสนอดังกล่าว เป็นหุ้นเพิ่มทุน 285,000,000 หุ้น และหุ้นเดิมของกระทรวงการคลัง 157,750,000 หุ้น โดยเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ บริษัทฯ จะนำไปใช้ในการลงทุนในโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์บนเครื่องบิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ
ตั้งแต่เดือน กันยายน 2547 บริษัทฯได้จำหน่ายหุ้นให้กับพนักงานจำนวน 13,896,150 หุ้น ในราคาหุ้นละ 15 บาท ภายใต้โครงการจัดสรรหลักทรัพย์ให้พนักงาน (Employee Securities Option Plan) โดยบริษัทฯ จะยังคงจำหน่ายหุ้นให้กับพนักงานที่ถือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นภายใต้โครงการดังกล่าวจน กระทั่งสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2549
วิสัยทัศน์ของบริษัทฯ เป็นสายการบินที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรก ให้บริการดีเลิศด้วยเสน่ห์ไทยภารกิจของบริษัทฯ -ให้บริการขนส่งทางอากาศอย่างครบวงจรทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยความสะดวกสบายและการบริการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อลูกค้า - มีการบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากล และมีผลประกอบการที่น่าพอใจ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น - สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อจูงใจให้พนักงานเรียนรู้และทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และภูมิใจที่เป็นส่วนร่วมในความสำเร็จของบริษัทฯ - มีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ในฐานะเป็นสายการบินแห่งชาติ
นโยบายของบริษัทฯ ดำเนินงานในฐานะที่เป็นสายการบินแห่งชาติ เป็นตัวแทนของประเทศไทย ในการดำรงรักษาและเพิ่มพูนสิทธิด้านการบิน ร่วมส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แสวงหาและเพิ่มพูนรายได้ ทั้งในรูปเงินบาท และเงินตราต่างประเทศ นอกจากนั้น ยังดำเนินการส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ ให้มีทักษะ และวิชาชีพที่เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง ในการบินพาณิชย์ของโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งเผยแพร่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกลักษณ์ของประเทศไทย สู่สายตาชาวโลกอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานของการบินไทยมีกำไรต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ2507/2508 จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าธุรกิจการบินเป็นธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แต่การบินไทย ก็คงสถานะเป็นสายการบิน ที่ทำกำไรและผ่านวิกฤติการณ์ ที่กระทบกระเทือนธุรกิจการบินโลกมาด้วยดี และส่งรายได้สู่รัฐ ทั้งในรูปของเงินปันผลภาษีและอื่นๆ ซึ่งในปีงบประมาณ 2547/48 (เริ่มเดือนตุลาคม 2547-สิ้นเดือนกันยายน 2548) มี
มีรายได้จากการดำเนินงาน 162,488 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 6,777 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 4.00 บาท นอกจากผลการดำเนินการด้านกำไร การบินไทยยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ร่วมบุกเบิกจุดบินใหม่ๆ จนได้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เช่น กาฐมาณฑุ เดนปาซาร์ และโกตากีนาบาลู ริเริ่มการบินเส้นทางตรงสู่ยุโรป รวมทั้งเปิดเส้นทางบินใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้เพื่อใช้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบิน และได้ร่วมกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติในด้าน กิจการบิน ดำเนินการพัฒนาการบินภายในประเทศ รวมถึงดำเนินการศูนย์ซ่อมเครื่องบิน ลำตัวกว้างจนได้รับความไว้วางใจจากทั่วโลก
จรรยาบรรณของบริษัทฯ ดำเนินงานหรือประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของความเป็นธรรมและจริยธรรม ตลอดจนปกป้องรักษาผลประโยชน์อันชอบธรรมของบริษัทฯ และตระหนักในคุณค่าของพนักงาน โดยยึดหลักว่าพนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญและเป็นตัวแทนของบริษัทฯ พนักงานทุกคนจึงมีส่วนร่วม และสนับสนุนความสำเร็จของบริษัทฯเพื่อบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว บริษัทฯ ได้กำหนดขัอพึงปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกระดับ รวมทั้งกำหนดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป ดังนี้1. ปฏิบัติต่อลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ซื่อสัตย์ สุจริตและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าทุกคน2. ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง โดยวางตัวเป็นกลางเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติ3. ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรม4. สนับสนุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

เห็นว่าเป็นที่สนใจของใครหลายคน เลยหาข้อมูลมารวม ให้อ่านกันเพลินๆเวบไซต์หลัก http://www.new7wonders.com/
100 ล้านคนทั่วโลกโหวต 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ [8 ก.ค. 50 - 07:49]vzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzvzในเว็บไซต์มูลนิธิที่มีชื่อว่า“สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ 7 อย่าง” อันเป็นมูลนิธิไม่แสวงหากำไร ที่ก่อตั้งโดยนายเบอร์นาร์ด เวเบอร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวสวิส ได้ประกาศรายชื่อบรรดาสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ ทั่วโลก วานนี้ (7 ก.ค.) หลังจากที่ริเริ่มรณรงค์ให้ประชาชนทั่วโลก เลือกสิ่งมหัศจรรย์ใหม่ของโลกเมื่อปี 2542 และเปิดให้มีการลงคะแนนทางเว็บไซต์ www.new7wonders.com รวมทั้งการส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
ผลการลงคะแนนจากประชาชนทั่วโลกกว่า 100 ล้านคน ได้เลือก 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ได้แก่ 1.ชิเชน อิตซา อัสเทค ไซต์ แห่งยูคาตาน ประเทศเม็กซิโก ชิเชน อิตซา คาบสมุทรยูคาทาน เม็กซิโกชิเชน อิตซา เป็นภาษามายาแปลว่า ต้นทางแห่งความสุขสบายของประชาชน ชิเชน อิตซาเป็นวิหารที่โด่งดังที่สุดของชนเผ่ามายา ถือเป็นศูนย์กลางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอารยธรรมมายา การผสมผสานทางโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหลากหลายชนิด ของชิเชน อิตซาทั้งพีระมิดแห่งเทพเจ้าคูคุลคาน (เทพเจ้าสูงสุดของชาวมายาซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์) วิหารชัค มุล (รูปปั้นซึ่งเป็นศิลปะแบบมายา) ห้องโถงที่เต็มไปด้วยเสาหลายพันต้นและลานกว้างที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชนในอดีตนั้น แสดงให้เห็นถึงความพิเศษในเชิงสถาปัตยกรรมด้านการจัดวางองค์ประกอบของเนื้อที่และพื้นที่ใช้สอย โดยเฉพาะในส่วนของพีระมิดแห่งเทพเจ้าคูคุลคานซึ่งถือเป็นพีระมิดแห่งสุดท้าย และเป็นพีระมิดที่กล่าวได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของอารยธรรมมายาด้วย2.ไครสต์ เดอะ รีดีมเมอร์ ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล รูปปั้นของพระเยซูที่โปรดให้พ้นบาป ยืนสูง 30 เมตร (98 ฟุต) และกำลังมองข้ามเมือง Rio de Janeiro หนึ่งในรูปปั้นสูงที่สุดในโลก รูปปั้นพระเยซูเยืนยื่นแขนออกมาต้อนรับ และเป็นหนึ่งของสัญลักษณ์ที่มีชื่อเสียงมากของเมืองนี้ พัฒนาโดยวิศวกร Heitor da Silva Costa และองค์กร สร้างขึ้นในปี 1921 โครงการทำเกือบ 5 ปีจึงเสร็จสิ้นรูปปั้นอยู่บนภูเขา Corcovado (ภูเขา Hunchback) และตั้งในอุทยานแห่งชาติ Tijuca เป็นสถานที่ปิคนิกที่รื่นเริง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปฐานของรูปปั้น ซึ่งสูง 709 m (2326 ฟุต) สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของภูเขา Sugar Loaf กลางเมือง Rio de Janeiro และชายหาดของ Rio de Janeiro นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นรถไฟไปบนยอดของภูเขาเพื่อมองรูปปั้นอย่างใกล้ชิด และวิวที่สวยงามมากมาย3.กำแพงเมืองจีน กำแพงเมืองจีน ประเทศจีนกำแพงเมืองจีน (Great Wall of China) เป็นกำแพงกั้นเมือง และกั้นประเทศตามพรมแดนด้านเหนือของจีน เป็นกำแพงที่ยาวใหญ่มหึมา มีขนาดกว้างตั้งแต่ 4.5 เมตร ถึง 7.5 เมตร (10 ฟุต) มีความสูงจากพื้นด้านล่างตั้งแต่ 8 เมตร ถึง 9 เมตร (20-30 ฟุต หนา15-25 ฟุต)ได้รับขนานนามว่า กำแพงหมื่นลี้ เพราะมีความยาวถึง 14,600 ลี้ (ราว 6,700 กิโลเมตร) บนกำแพงทุกๆ ระยะ 200 เมตร (300 ฟุต) จะมีหอหรือป้อมสำหรับตรวจเหตุการณ์ มีป้อมมากกว่า 15,000 แห่ง สร้างสูงขึ้นไปอีก 3 เมตรถึง 6 เมตร และมีระฆังแขวนเพื่อตีบอกสัญญาณเกิดเหตุไว้ประจำทุกหอ รวมทั้งหมดมีไม่ต่ำกว่า 20,000 หอเริ่มสร้างระหว่างปี 243-252 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยพระเจ้าซี่วังตี่ (จิ๋นซีฮ่องเต้) มีการสร้างต่อเติมอีกหลายครั้ง ใช้แรงงานเกณฑ์จากราษฎรทั้งประเทศนับจำนวนล้าน มีผู้เสียชีวิตเรือนหมื่น อีกทั้งยังเป็นสิ่งก่อสร้างชนิดเดียวในโลกที่สามารถมองเห็นได้จากดวงจันทร์ 4.มาจู พิคจู ประเทศเปรูมาชู ปิกชู ประเทศเปรูมาชู ปิกชู แห่งอาณาจักรอินคา (Inca city, Machu Picchu) ตั้งอยู่ที่เมืองคุสโซ ประเทศเปรู มาชู ปิกชู อยู่บนยอดสูงมีบริเวณรอบๆ รวมแล้วความสูงของหน้าผาประมาณ 304.8 เมตร (1,000 ฟุต) ฮิแรม บิงแฮม นักสำรวจชาวอเมริกันพบใน ค.ศ.1911บริเวณนั้นเป็นป่าใหญ่คลุมพื้นที่อยู่ นอกจากสิ่งก่อสร้าง ปรักหักพังบางส่วนที่โผล่อยู่ให้เห็นสิ่งก่อสร้างดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นความสามารถยอดเยี่ยม เชิงสถาปัตยกรรมของชาวอินคาในอดีต เพราะมีทั้งโบสถ์วิหาร อ่างหินสำหรับเก็บน้ำ บันไดหินเป็นพันๆ ขั้น เพื่อเป็นทางทอดระเบียงลงไปในที่ต่างๆ แห่งนครภูเขานี้5.เมืองโบราณเปตรา จอร์แดน เปตรา ประเทศจอร์แดนนครเปตราในจอร์แดน เป็นเมืองที่เจาะสลักเข้าไปในหินเกือบทั้งหมด รอบบริเวณ ไม่ว่าจะเป็น วิหาร หลุมศพ บันได โรงละคร ซึ่งขุดสลัก มาแต่ยอดเขาลงมาเป็นหลืบลดหลั่นเป็นช่อชั้นงดงาม แสดงถึงฝีมือและ ศิลปะในการสลักหินได้อย่างยอดเยี่ยมสีของหินกลมกลืนกัน ตัวตึกสี เลือดนก สีกุหลาบและสีม่วงเป็นลำดับ ถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของอารยธรรม เบื้องต้นของเขตตะวันออกกลางที่เรียกว่านาบาทีนส์ คนแถบนี้เป็นพวกเร่รอน อาชีพเลี้ยงแกะอยู่ไม่เป็นที่ เป็นพวกชอบทำธุรกิจค้าขายเครื่องเทศจากตะวันออก ไปยังเขตเมดิเตอร์เรเนียนจากนั้นก็ขนส่งลงเรือไปสู่ยุโรป ในช่วงเวลาที่มีการ ค้าขายอย่างกว้างขวางกับอาณาจักรต่างๆ สืบมาจนถึงปัจจุบันได้ใช้เส้นทาง ในเขตซีเรียสู่ซาอุดีอารเบียโดยอาศัยกองคาราวานขนส่ง ได้สร้างความร่ำรวย และอำนาจราชศักดิ์ จนได้กลายมาเป็นนครเปตราขึ้นจากพวกอีโดไมท์ ซึ่งถือ เป็นเมืองหลวงในราว 300 ปี ก่อนคริสต์กาลสิ่งก่อสร้างสำคัญชิ้นหนึ่งในนครเปตราคือมหาวิหารกวาซร์ ฟีราโอน ซึ่งสร้างสมัยพระเจ้าอาเรตัสที่4 มหาราชของชาวนาบาทีนส์ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง 9 ปีก่อน ค.ศ. จนถึง ค.ศ. 40 การบูรณปฏิสังขรณ์นครเปตรากำลังดำเนินอยู่อย่างมาก ในปัจจุบัน นครแห่งนี้ถูกค้นพบในรูปปรักหักพังมาตั้งแต่ ค.ศ. 1812 นับเป็นนครที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้ไปชมปีละมากมาย ความนิยมดังกล่าวช่วยยกฐานะให้นครเปตรากลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ สิ่งหนึ่งในโลกผลที่ออกมาคงเป็นที่ถูกใจของใครหลายๆ คน ทั้งนี้ทางทางองค์กร New 7 Wonders ยังได้เตรียมเปิดโครงการใหม่คือการค้นหา 7 สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติยุคใหม่ (NEW 7 WONDERS OF NATURE) โดยจะเปิดให้มีการเสนอชื่อสถานที่เข้าชิงไปจนถึง 08.08.08. อีกด้วย6.โคลอสเซียม กรุงโรมสนามกีฬาโคลอสเซียม ประเทศอิตาลีตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง สิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรโรมันโบราณ สร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ.ที่ 72-80 ตัวสนามสร้างมีรูปเป็นตึกวงกลมก่อด้วยอิฐและหินขนาดใหญ่ วัดโดยรอบยาว 527 เมตร สูง 57 เมตร มี 4 ชั้นภายในมีอัฒจันทร์สำหรับคนนั่งดู จุคนดูประมาณ 80,000 คน ใต้อัฒจันทร์และใต้ดินมีห้องสำหรับขังนักโทษที่รอการประหารชีวิต และสิงโต หลายร้อยห้อง ใช้เป็นสถานที่ให้นักโทษ ต่อสู้กับสิงโตที่อดอาหาร หากนักโทษผู้ใดเอาชนะ ฆ่าสิงโตได้ด้วยมือเปล่าได้ก็รอดชีวิตไปหรือไว้ใช้เป็นที่ประลองฝีมือในเชิงฟันดาบของบรรดาเหล่าทาสให้ต่อสู้กันเอง ยิ่งถ้าต่อสู้กัน จนถึงสามารถฆ่าคู่ต่อสู้ตายก็จะได้รับเกียรติอย่างสูงเพราะเป็นการต่อสู้ที่ชาวโรมันนิยมและยกย่องกันมาก ปีๆ หนึ่งต้องสูญเสียชีวิตนักโทษและทาสไม่ต่ำกว่าร้อยคน7.ทัชมาฮาล แห่งอินเดีย ทัชมาฮาล ประเทศอินเดียทัชมาฮัล เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ของโลก เพราะที่นี่เป็นสุสานฝังศพของ มุมทัชมาฮัล ราชินีผู้ป็นที่รักยิ่งของพระเจ้าชาห์เยฮัน อยู่ในเมืองอัคระ บนฝั่งแม่น้ำยมนา ประเทศอินเดีย มุมทัชมาฮาล เป็นมเหสีที่พระเจ้าชาห์เยฮันรักมากที่สุด พระนางสิ้นพระชนม์เพราะคลอดโอรสองค์ที่ 15 ซึ่งทำให้พระเจ้าชาห์เยฮันเศร้าโศกมาก พระองค์จึงสร้างที่ฝังศพที่ใหญ่โตที่สุดในโลกขึ้นที่ริมแม่น้ำยมนาสร้างระหว่าง ค.ศ.1630-1648 สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวลบริสุทธิ์ ตามแบบสถาปัตยกรรมเปอร์เซีย โดยสถาปนิก อุสตาด ไอสา (Ustad lsa) มีผู้ร่วมสร้างเป็นผู้ออกแบบ ช่างเขียนลวดลาย ช่างอิฐ ช่างปูน ช่างประดับลวดลายด้วยกระเบื้อง ช่างแกะสลัก ช่างตกแต่งภายใน รวม 20,000 คน วัตถุในการก่อสร้าง คือ หินอ่อนสีขาวจากเมืองมะครานา หินอ่อนสีแดงจากเมืองฟาตีบุระ หินอ่อนสีเหลืองจากฝั่งแม่น้ำนรภัทฑ์ เพชรตาแมวจากกรุงแบกแดด ปะการัง และ หอยมุกจากมหาสมุทรอินเดีย หินเจียระไนสีฟ้าจากเกาะลังขะ เพชรจากเมืองบนทลขัณฑ์ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 50,000,000 เหรียญอเมริกัน หรือประมาณ 1,000,000,000 บาทได้รับคำรับรองจากสถาปนิกทั่วโลกว่าสร้างขึ้นโดยถูกสัดส่วน และวิจิตรงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 39 เมตร (130 ฟุต) ตรงกลางมีโดมสูง 60 เมตร (200 ฟุต) มีโดมเล็กๆ เป็นหสูงอยู่ทั้ง 4 มุม ภายในประดับด้วย หินอ่อนสลักฉลุเป็นลวดลายวิจิตรตระการตาแทรกเสริมด้วย พลอยสี ทับทิม และนิล ตรงกลางภายใต้หลังคาโดมใหญ่มีแท่นวางหีบศพที่ทำด้วยหินอ่อน และมีฉากหินอ่อนฉลุลายงามเป็นพิเศษกั้นอีกชั้นหนึ่ง แต่ศพจริงๆ ไม่ได้บรรจุอยู่ในหีบหากฝังอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินตรงกับที่วางหีบศพนั้น ภายหลังที่สร้างทัชมาฮัล ซาร์เจฮันใฝ่ฝันที่จะสร้าง ที่ฝังศพตัวเองที่ฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามจะเป็นหินอ่อนสีดำล้วนๆ แต่เมื่อโอรสขึ้นครองราชย์สมบัติจึงจับพระองค์ขังอยู่ได้ 7 ปี ก็สิ้นพระชนม์ ประมาณ พ.ศ.2209 (ค.ศ.1666) แล้วเอาศพไปฝังข้างศพมเหสีผู้เป็นที่รัก ส่วนนายช่างผู้ออกแบบถูกสั่งให้ประหาร เพื่อป้องกันไม่ให้มีโอกาสออกแบบสิ่งก่อสร้างใดๆ ที่สวยกว่า
สำหรับวัตถุประสงค์ของการคัดเลือก สิ่งมหัศจรรย์ 7 อย่าง ครั้งนี้ เพื่อให้ชาวโลกตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์สถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ทั้ง 7 มีทั้งอยู่นอกยุโรป และตะวันออกกลาง ขณะที่ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกดั่งเดิมที่เกิดขึ้นกว่า 2 พันปีที่ผ่านมา ล้วนตั้งอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และมีเพียงพีระมิดแห่งกิซา อียิปต์ เท่านั้นที่ยังได้รับการจัดอันดับว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ที่มา: http://www.rssthai.com/reader.php?t=travel&r=8887สิ่งมหัศจรรย์ทั้ง 7 ของโลกคืออะไร อยู่ที่ประเทศใด
ตอบ -สิ่งมหัศจรรย์ในยุคปัจจุบัน ได้แก่
1.ปราสาทหินนครวัด ประเทศกัมพูชา สร้างโดยพระราชาธิราชพ.ศ.1690 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 นครวัดเป็นสถาปัตยกรรมสร้างด้วยหินศิลาแลงและมีช่างแกะหินเป็นภาพพุทธประวัติบ้าง ภาพสงครามบ้าง
2.ทัชมาฮาล ในประเทศอินเดีย เป็นอนุสาวรีย์แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพระเจ้าซาห์เยฮัน แห่งเมืองอัคระ สร้างเป็นสุสานฝังศพของมเหสีที่พระองค์รักมากที่สุด ทัชมาฮาลสร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 23 ปี
3.พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สร้างนานถึง 30 ปี ห้องทุกห้องตกแต่งประดับประดาหรูหราโอ่อ่ามาก แต่ประหลาดมากคือไม่มีห้องน้ำ
4.ตึกเอ็มไพร์สเตต เกาะแมนฮัตตัน สหรัฐอเมริกา เคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างดีไม่มีสนิม คงทนถาวรนาน 6,000 ปีไม่มีถล่ม
5.เขื่อนยักษ์ฮูเวอร์ เขื่อนกั้นแม่น้ำโคโลราโด อยู่ระหว่างรัฐเนวาดากับอริโซน่า สหรัฐอเมริกา สร้างเมื่อปีพ.ศ.2472 เป็นเขื่อนแรกที่มนุษย์สร้างและเอาชนะธรรมชาติอันร้ายแรงของน้ำท่วมและกักเก็บน้ำให้เป็นทะเลสาบได้
6.สะพานโกลเดนเกต ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก เฉพาะช่วงตอนกลางยาวถึง 4,200 ฟุต กว้าง 90 ฟุต ความยาวทั้งหมดของสะพานเกือบ 7 กิโลเมตร สร้างเมื่อปี 2476 เสร็จปี 2480 เวลากลางคืนเปิดไฟที่สะพานจะสวยมาก
7.เรือโดยสารควีนแมร์รี่ เป็นเรือเดินสมุทรขนาดมหึมาใหญ่โตที่สุดในโลกเท่าที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อรับผู้โดยสารข้ามมหาสมุทร เรือมีน้ำหนัก 80,773 ตัน ยาว 1,004 ฟุต สูง 180 ฟุต ภายในเรือมีสิ่งอำนวยความสะดวก ร้านค้า โรงพยาบาล ฯลฯ แต่ตอนนี้เรือไม่ได้แล่นรับผู้โดยสารแล้ว เพราะมีเศรษฐีอเมริกันซื้อไปสร้างเป็นโรงแรมและพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำที่ลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย
สำหรับสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ด สมัยกลาง (ศตวรรษที่ 1-14) ได้แก่ 1.สนามกีฬากรุงโรม อิตาลี 2.หลุมฝังศพแห่งอเล็กซานเดรีย อียิปต์ 3.กำแพงเมืองจีน 4.กองหินสโตนเฮนช์ อังกฤษ 5.หอเอนปิซ่า อิตาลี 6.เจดีย์กระเบื้องเคลือบนากิง จีน และ 7.โบสถ์เซนต์โซเฟีย ตุรกี
นอกจากนี้ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ทั้ง 7 ในยุคโบราณด้วย ได้แก่ 1.เทวรูปเทพเจ้าเซอุส 2.มหาวิหารเดียนา 3.สวนลอยบาบิโลน 4.หอประภาคารฟาโรส 5.เทวรูปโคโลสซูส 6.สุสานมุสโซเลียม 7.พีระมิดแห่งอียิปต์ ที่มา: http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031112&tag950=03you20120439&show=1
7 สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ของโลกใกล้ได้เห็นแล้ววันที่ 7 เดือน 7 ปี 2007 หรือ 07.07.07 คือวันประกาศผลการลงคะแนนคัด 7 สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ของโลก โดยงานจัดที่เบนฟิกาสเตเดี้ยม ในกรุงลิสบอน,โปรตุเกสพวกเราต่างคุ้นกับ 7 สิ่งมหัศจรรย์หรือ 7 Wonders ด้วยมีสถานที่สำคัญๆหลายแห่งอ้างอิงว่าเป็น 1 ในสิ่งมหัศจรรย์ โดยความจริงแล้วไม่มีการรับรองเป็นทางการไม่ว่าทัชมาฮาล,นครวัดฯลฯ ที่ยอมรับในความมหัศจรรย์ล้วนเป็นสิ่งก่อสร้างอายุกว่า 2 พันปีและเหลือเพียงมหาพีระมิดแห่งกิซา,อียิปต์เท่านั้นที่เหลืออยู่ นอกนั้นชำรุดทรุดโทรมไม่เหลือแม้ซากทราบว่ามหาพีระมิดกีซาได้รับยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ระดับกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการผู้จัดให้มีการโหวดตกลงคัดออกจากบัญชีโหวด เพื่อให้เกียรติของเก่าการจัด 7 สิ่งมหัศจรรย์ที่จะประกาศผลในวันที่ 7 เดือนหน้าเป็นของเก่าและใหม่ที่ปัจจุบันมีอยู่จริง และอยู่ในสภาพที่ดีกระจกแมงเม่าเคยนำ 21 ว่าที่สิ่งมหัศจรรย์ที่ผ่านเข้ารอบมาเล่าสู่กันฟังแล้ว ถึงวันนี้มีผู้โหวดเข้ามามากกว่า 60 ล้านเสียง ที่อยู่แถวหน้าได้แก่ Acropolis แห่งเอเธนส์,กรีซ พีระมิด Chichen Itza แห่งเม็กซิโก สนามกีฬา Colosseum แห่งโรม,อิตาลี อนุสาวรีย์หิน Easter Island Moais แห่งชิลี หอสูง Eiffel กรุงปารีส,ฝรั่งเศส กำแพงเมืองจีนที่ปักกิ่ง เมืองเก่า Machu Picchu ของชาวอินคาในเปรู นคร Petra ในจอร์แดน กองหิน Stonehenge ในอังกฤษ และอนุสาวรีย์แห่งความรัก Taj Mahal ในอินเดียพวกเราอาจข้องใจแล้วนครวัดของกัมพูชาเพื่อนบ้านเราล่ะ?ไม่น่าแปลกใจเพราะสถานที่ตัวเก็งล้วนอยู่ในประเทศที่มีศักยภาพ แปลว่าศักยภาพในการสร้างคะแนนโหวดเพื่อให้สมบัติแห่งชาติขึ้นชั้นไปสู่สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ประเทศเล็กๆอย่างกัมพูชาที่ประชาชนอ่อนด้อยความรู้เทคโนโลยีสื่อสารจะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปโหวดทางอินเทอร์เน็ตสู้ โอกาสของนครวัดก็คงรอชาวโลกผู้เห็นคุณค่าช่วยกันโหวดให้ คะแนนที่ไล่หลังอยู่มีโอกาสแซงติด 1 ใน 7 ได้พูดอย่างนี้ก็ใช่ว่าลำเอียงเข้าข้างเพื่อนบ้าน ความจริงคือการโหวดหาสิ่งมหัศจรรย์ใหม่ถูกผลักดันทั้งด้านการเมืองและธุรกิจอย่างแรงผู้นำในบางประเทศล็อบบี้ประชาชนของตนอย่างเต็มที่ให้ส่งคะแนนโหวด ในจีนเองทั้งระดับโรงเรียน,มหาวิทยาลัยรณรงค์ดันกำแพงเมืองจีนแบบเต็มสูตร จอร์แดนก็เช่นกันพระราชวงศ์ลงมาชักจูงใจเอง เม็กซิโกก็สู้ไม่ถอย ตามกระป๋องโค้กโฆษณาให้ชาวเม็กซิกันร่วมโหวดให้ Chichen Itza เป็นที่เข้าใจได้หากขึ้นแป้น 7 สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ ตัวนักการเมืองได้หน้าได้คะแนนเสียง ธุรกิจท่องเที่ยวก็สดใสซาบซ่า จนมีผู้กลัวว่าถ้าเว่อร์ก็อาจเป็นดาบคมที่ 2 ทิ่มแทงสิ่งมหัศจรรรย์เสียหายงานนี้ใกล้ตัวเราที่สุดก็ลุ้นนครวัดนี่แหละ ไม่ว่าอะไรก็ตามยินดีล่วงหน้ากับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะชนะบนคะแนนโหวดของผู้ที่อยู่ในประเทศเป็นกลางมีจิตใจเป็นกลาง เพื่อรับเกียรติยศนั้นด้วยการยอมรับของชาวโลก.

อาหารนานาชาติในฮองกง

ฮ่องกงมีอาหารนานาชาติรสเลิศให้คุณเลือกรับประทาน ภัตตาคารอาหารจีนพบได้ทุกที่ในฮ่องกง บางแห่งที่ขึ้นชื่ออาจตั้งอยู่ในโรงแรมหรือแหล่งช้อปปิ้ง ซึ่งล้วนโดดเด่นแตกต่างกันไปทั้งอาหาร กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เสฉวน & หูหนาน หรือมังสวิรัติจีน และอาหารตามเทศกาล & ไวน์จีน ในฐานะเมืองนานาชาติ วัฒนธรรมและรสชาติหลากหลายต่างมีให้เลือกในโลกแห่งอาหารของฮ่องกง จะลองลิ้มรสอาหารระดับ 5 ดาว ฟาสต์ฟู้ด ของว่างหรือสำหรับสังสรรค์กันในครอบครัวทั้งภัตตาคารอาหารตะวันออก และอาหารตะวันตก ไทย เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ลองเปลี่ยนรสชาติจาก อาหารจีน และซูชิบาร์แบบญี่ปุ่น และภัตตาคารชั้นเลิศ ซึ่งล้วนมอบรสชาติอร่อยหลากหลาย อาหารตะวันตกมีทั้งอาหารอเมริกัน ฝรั่งเศส อิตาเลียน อาหารเมดิเตอร์เรเนียนและอื่นๆ ให้เลือกเนื้อและมันฝรั่งรสชาติดั้งเดิม หรืออาหารเม็กซิกัน อีกทางเลือกของรสชาติเผ็ดร้อน ใช่เพียงฮ่องกงจะเป็นเมืองหลวงแห่งอาหารชั้นเลิศของเอเชียเท่านั้น แต่คุณยังสามารถลิ้มรสและดื่มด่ำกับวิวตระการตา ชมอ่าวหรือทิวเขาอันงดงาม ในขณะที่อิ่มเอมกับอาหารจานเด็ดของฮ่องกง หรืออาหารจีนหลากสไตล์ ขณะชมแนวตึกระฟ้าอันงดงามของฮ่องกง แล้วคุณจะรักอาหารในฮ่องกง

ชาจีน

ประวัติศาสตร์
ชามีบทบาทสำคัญในสังคมและวัฒนธรรมจีนมากว่าห้าพันปี ตามตำนานเล่าว่า ชาได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดิเชินเนิง ในช่วงปี 2737 ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในยุค 5 รัชสมัย ใบไม้ได้ปลิวลงไปในหม้อต้มน้ำ เกิดเป็นกลิ่นหอมรัญจวญของน้ำชาที่ลอยแตะจมูกองค์พระจักรพรรดิจนต้องลองจิบดู พระองค์ได้ทรงประกาศการค้นพบและให้เป็นเครื่องดื่มประจำชาติ ต้นไม้ดังกล่าวปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในนามต้นคาเมลเลีย ซึ่งเติบโตในป่าของจีน การดื่มชาจีนได้รับการสืบทอดต่อไปอีกหลายศตวรรษ หนังสือเกี่ยวกับชาเล่มแรก ชื่อ Cha Ching (ชาโบราณ) เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) โดยกวีลู่หยู นอกเหนือจากจะรวบรวมข้อมูลในการการปลูกชาและเตรียมชาหลากหลายวิธีแล้ว ยังมีกฎและเทคนิคที่เหมาะสมในการชงชาให้ได้รสเลิศที่สุด นอกจากนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดศิลปะของการดื่มชาไว้
ประเภทของชา
หากแบ่งตามระยะเวลาการบ่มและระดับของการดูแลแล้ว สามารถแบ่งชาออกเป็น 6 ประเภทหลักๆ ได้แก่
ชาเขียว เป็นชาที่ไม่ผ่านการบ่ม ผลิตจากใบชาที่เก็บสดๆ มาอบไอน้ำ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวเมื่อต้ม ให้รสอ่อนละมุน
ชาขาว เป็นชาที่ใช้เวลาบ่มไม่นาน ให้กลิ่นนุ่มนวล หวานเล็กน้อย
ชาดำ เป็นชาที่ผ่านการบ่มเต็มที่ก่อนนำไปอบ มีสีแดงสด เมื่อต้มแล้วให้รสชาติเข้ม และมีสีน้ำตาล
ชาอู่หลง มีต้นกำเนิดจากมณฑลฟูเจี้ยนของจีน ใบชาจะนำไปผ่านกระบวนการอ๊อกซิไดซ์บางส่วน เมื่อต้มแล้วจะให้รสชาติกึ่งชาเขียวและชาดำ มีสีเหลืองสดและออกรสผลไม้
ชาผู่เอ้อ เป็นชาที่ดัดแปลงมาจากชาเขียว ชาอู่หลงและชาดำ ผ่านการหมักบ่มมาอย่างเต็มที่ เมื่อต้มแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม

อาหารทะเลฮองกง

Related Tags
อาหารจีน อาหารเอเชีย อาหารตะวันตก แนะนำร้านอาหาร

มรดกทางประเพณีฮ่องกง

ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม ทำให้ฮ่องกงแตกต่างไปจากเมืองอื่นๆในเอเชียหรือในโลกก็ว่าได้ ด้วยประวัติศาสตร์จากยุคอาณานิคมที่ยาวนานถึง 150 ปี และประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชาวจีน ทำให้ฮ่องกงเป็นเมืองที่โดดเด่นด้วยวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ที่ผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน ที่ซึ่งความเก่าแก่ตั้งอยู่เคียงข้างความทันสมัย วัดที่คลุ้งไปด้วยควันธูป อาคารสมัยยุคอาณานิคม และตึกระฟ้าที่สร้างด้วยกระจกและเหล็ก ท่ามกลางประเพณีอันเก่าแก่และเทศกาลที่มีสีสัน ล้วนทำให้วัฒนธรรมในฮ่องกงดูคึกคักและมีชีวิตชีวา โปรแกรมกล้องส่องวัฒนธรรม โอกาสอันยอดเยี่ยมที่คุณจะได้สัมผัสขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของฮ่องกงผ่านโปรแกรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ค้นพบฮ่องกงด้วยเส้นทางรถไฟลองจับรถไฟแล้วไปสำรวจย่านที่มีเสน่ห์ที่สุดของเกาลูนและนิวเทอร์ริทอรี่ส์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ
วัดฮ่องกงมีวัดจีนมากกว่า 600 แห่งกระจายอยู่ทั่วฮ่องกง สำหรับชาวพุทธ ขงจื๊อและลัทธิอื่นๆ และวัดที่คนนิยมมากที่สุดคือ วัดทินโห่ว และยังมีอารามและสำนักชีอีกหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้จากเว็บไซต์ภาษาอังกฤษอนุสรณ์สถาน สถานที่อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนและสมัยอาณานิคมที่ยังหลงเหลืออยู่ในฮ่องกง สะท้อนถึงวัฒนธรรมจีนที่สืบทอดกันมายาวนานกว่า 5,000 ปี และกลิ่นอายสมัยยุคอาณานิคมของอังกฤษกว่า 150 ปี รายชื่อดังต่อไปนี้เป็นมรดกสถานที่สำคัญซึ่งเดินทางไปชมได้ไม่ยาก ทำเนียบรัฐบาลเปิดให้เข้าชมในบางโอกาส หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จากเว็บไซต์ภาษาอังกฤษด้านล่างนี้
เกาะฮ่องกง
เกาลูน
นิวเทอร์ริทอรี่ส์

ฮานอย

ฮานอย (ภาษาเวียดนาม: อักษรกว๊กหงือ (quoc ngu) Hà Nội; อักษรจื๋อโนม (chu nom) 河内) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากรประมาณ 4,100,000 คน (พ.ศ. 2547)ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียตนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวีตนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร, ไม้อัด สิ่งทอ, สารเคมี และงานหัตถกรรม ฮานอยตั้งอยู่ที่ 21°2' เหรือ 105°51' ตะวันออก (21.0333, 105.85) [1]
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้มีการขยายเขตกรุงฮานอยไปอีก โดยครอบคลุมบริเวณมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเมื่อถึงเดือนตุลาคม 2553 ก็จะครบวาระ 1000 ปีการสถาปนาเมือง
[แก้] ประวัติศาสตร์


"ฮานอย"หมายถึงตอนต้นของแม่น้ำ ตั้งอยู่ตอนต้นอยู่บนลุ่มแม่น้ำแดง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553 โดยใช้ชื่อว่า"ทังลอง" แปลว่า "มังกรเหิน" จนกระทั่ง พ.ศ. 2345 กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนได้ย้ายเมือหลวงไปอยู่เมือง "เว้" เมื่อตกเป็นส่วนหนึ่ของอินโดจีนของฝรั่งเศส ฮานอยจึงกลับมาเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน พ.ศ. 2430 ภายหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2489 ดินแดนเวียดนามแยกออกเป็นสองประเทศ โดยฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ เมื่อรวมประเทศใน พ.ศ. 2519 จึงเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวของเวียดนามในปัจจุบัน

อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์

หมวดหมู่:อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
หมวดหมู่ย่อย
หมวดหมู่นี้มี 3 หมวดหมู่ย่อย จากทั้งหมด 3 หมวดหมู่

[+] การ์ดแสดงผล (0)

[+] เมนบอร์ด (2)

[+] หน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ (0)
บทความในหมวดหมู่ "อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์"
มีบทความ 4 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 4 หน้า

การ์ดเสียง

ไฟร์ไวร์

วีจีเอ

ฮาร์ดดิสก์

หมวดหมู่: อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์ชนิดต่างๆ
ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง

ฮาร์ดดิสก์ SSD
โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ SSD
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ประวัติ
2 ขนาดและความจุ
3 หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
4 การเก็บข้อมูล
5 อ้างอิง
6 แหล่งข้อมูลอื่น
6.1 ภาษาไทย
6.2 ภาษาอังกฤษ
//
[แก้] ประวัติ

ชิ้นส่วนภายใน ในปี 1997
ฮาร์ดดิสก์ที่มีกลไกแบบปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น «โดยใช้หน่วยการเปรียบเทียบเป็น บระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,024MB = 1GB» ในตอนแรกใช้ชื่อเรียกว่า 'ฟิกส์ดิสก์ fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่ ในบริษัท IBM เรียกว่า วินเชสเตอร์ส Winchesters
ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ จานบันทึกแบบแข็ง เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ จานบันทึกแบบอ่อน
ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีทรี, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา PDA จนกระทั่งภายใน โทรศัพท์มือถือ บางรุ่นตั้งแต่ภายในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมาเช่นยี่ห้อ (โนเกีย และ ซัมซุง สองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์
[แก้] ขนาดและความจุ

แนวโน้มในการเพิ่มขึ้นของการพัฒนาฮาร์ดดิสก์
ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 1.5 เทระไบต์
ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)
ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)

ฮาดแวร์

อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังภาพ